การพัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะประจำสายงานของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ 2 โดยประยุกต์วิธีการประเมินเชิงผสมผสาน The Development of Functional Competency Assessment System for Teachers in Schools under Kamphaeng Phet Primary Educational Service Area Offices 1 and 2 by Using Mixed Method Evaluation

Main Article Content

สาลินี ชนาพงษ์จารุ และคณะ Salinee Chanapongjaru and Others

Abstract

             การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการระบบการประเมินสมรรถนะประจำสายงานของครู  2) ออกแบบและพัฒนาระบบการประเมิน  และ 3) ทดลองและประเมินระบบการประเมิน การดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ใช้วิธีการสอบถาม และการสนทนากลุ่ม  ขั้นตอนที่ 2 ใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ  ขั้นตอนที่ 3 ใช้การทดลอง และประเมินระบบการประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ Mann-Whitney U test  ผลการวิจัยพบว่า  1. สภาพการประเมินสมรรถนะประจำสายงานของครูส่วนใหญ่ดำเนินการทั้ง 4 ด้าน คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ด้านปัญหา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความต้องการให้มีระบบการประเมินที่ชัดเจนที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถนะ ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการประเมินแบบผสมผสาน และให้มีการรายงานผล 2. ระบบการประเมิน สรุปได้ว่ามี 4 องค์ประกอบ คือ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เนื้อหา สมรรถนะ แนวคิด เครื่องมือ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และระยะเวลาในการประเมิน ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นทบทวน และขั้นสรุป ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ผลการประเมินรายบุคคล และผลการประเมินภาพรวม  และด้านข้อมูลป้อนกลับ ประกอบด้วย การจัดทำรายงานผลการประเมิน และการสรุปข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป 3. ผลการประเมินสมรรถนะประจำสายงานของครู พบว่า ครูทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนผลการประเมินแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 แสดงว่า มีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ส่วนผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินในภาพรวม ซึ่งได้แก่ มาตรฐานความเป็นไปได้ ความถูกต้อง ความเหมาะสม และการใช้ประโยชน์ พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  


          The purposes of this research were 1) to study the conditions, problems and needs in the functional competency assessment system for teachers in schools, 2) to design and develop evaluation system. 3) to try out and evaluate evaluation system. The research was divided into 3 steps. The first step was done by a questionnaire, and focus group. The second step was done by document analysis, interview, workshop and Connoisseurship. The third step was done by trying out and system evaluation. The data were analyzed using basic statistics comprising mean, standard deviation and The Mann-Whitney U Test for testing hypotheses. The results of research were as follows: 1.The conditions of functional competency assessment system for teachers was found that most of schools operated all of input, process, output and feedback process. The problems were at the moderate level. The teacher’s needs were completed which indicated that the objectives of assessment should be focused on the development of functional competency. The operation should be participatory by using mixed method evaluation, and results of evaluation should be reported. 2. The functional competency assessment system were consisted of 4 aspects; 1) input consisted of objectives, competency matter , ideas, instruments, related persons, and assessment period, 2) process consisted of preparation, operation, reviewing and conclusion, 3) output consisted of individual competency evaluation and whole competency evaluation, and 4) feedback consisted of presentation the evaluation report and suggestive conclusion for next assessment.  3. The results of functional competency for teacher were found that the functional competency of 2 groups teachers had significantly different at the level of .05 which was shown the construct validity. In general, the feasibility, the accuracy, the propriety, and the utility standard were at the high levels.

Article Details

Section
Dissertations

References

จตุรงค์ อินทรรุ่ง. (2552). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

พรเทพ รู้แผน. (2546). การพัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารการศึกษา). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พาที เกศธนากร. (2553). พัฒนาระบบการประเมินผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

ยุภาพร เทพสุริยานนท์. (2555). การพัฒนาระบบการประเมินการปฏิบัติงานของครูสังกัดโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย โดยใช้แนวคิดการผสมผสานวิธีประเมิน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พรินท์ (1991).

รุ่งฤดี กล้าหาญ. (2556). การพัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(2), 48-58.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Bertalanffy, L.V. (1968). General Systems Theory. New York: George Braziller.

Bigs, C. L., Birks, E.G., & Atkins, W. (1980). Managing the systems development process. Engle wood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Edwards, P. (1985). System analysis design and development: With structured concepts. New York: Holt Rinehart and Winston.