การประเมินศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน: ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

Main Article Content

ชิดชนก อนันตมงคลกุล
นิติพงษ์ ทนน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยใช้เกณฑ์การประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี 3) ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน 4) ด้านการจัดการทรัพยกรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน และ 5) ด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากการประชุมกลุ่มย่อยกับผู้นำชุมชน นักธุรกิจรวมถึงพนักงานการท่องเที่ยวและบริการท้องถิ่นจังหวัดพังงา จำนวน 10 คน พบว่าการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อแสน มีการจัดการท่องเที่ยวในภาพรวมระดับดีมาก และมีผลการประเมินในระดับดีมากทั้ง 5 ด้าน แสดงว่า ตำบลบ่อแสนมีศักยภาพสูงในการดำเนินการด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้านที่ 3 ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน ส่งผลให้พื้นที่ตำบลบ่อแสนมีศักยภาพโดดเด่นในการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวที่สอดคล้องต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ชุมชนได้รับผลประเมินด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับคะแนนน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะประเมินคุณภาพของจุดบริการการท่องเที่ยว ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของพื้นที่ตำบลบ่อแสน และกลุ่มการท่องเที่ยวโดยชุมชนพื้นที่อื่น ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

Article Details

How to Cite
[1]
อนันตมงคลกุล ช. และ ทนน้ำ น. 2024. การประเมินศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน: ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 12, 3 (ส.ค. 2024), 327–339.
บท
บทความวิจัย

References

Anantamongkolkul, C. and K. Pattanapokinsakul. 2019. Creative tourism behaviour of cultural tourists in Phuket. Journal of International and Thai Tourism 15(2): 1-20. (in Thai)

Anantamongkolkul, C. and N. Tonnam. 2022. Community-based tourism studies in the southern Thai context: A systematic literature review. Journal of International and Thai Tourism 18(2): 80-96. (in Thai)

Buangam, P. and U. Sriyom. 2021. Potentiality development approach on community-based tourism standard in Nopphitam district, Nakhon Si Thammarat province Rajapark Journal 15(41): 230-241. (in Thai)

Chirinang, P., A. Raktham, V. Chandarasorn and S. Fuengchan. 2022. The potential development of community-based tourism of Wat Lam Phaya floating market, Nakhon Pathom province. Journal of BSRU-Research and Development Institute 7(1): 65-76. (in Thai)

Dokmai, A. and S. Ampailapsuk. 2022. Designing cultural heritage tourism trail on OTOP Nawatwithi sustainable Noen Kham community, Noen Kham subdistrict, Noen Kham district, Chai Nat province. Journal of Community Development and Life Quality 10(3): 263-272. (in Thai)

Kitiananthada, C., Phra Kru Nimit Silakhan and Phrarachrạttanawathee. 2020. Potential of community-based tourism management in the Yom–Nan river delta, Chum Saeng district, Nakhon Sawan province. The Journal of Research and Academics 3(1): 97-110. (in Thai)

Khunthongjan, S. 2017. Business research. Bangkok, SE-ED public company limited. (in Thai)

Nakchaiwattan, N., S. Rung-in, W. Manprasong, J. Luanghirun and C. Pradiphatnarumol. 2022. Public participation in administration of Ban Hua Thae historical tourist site Ban Krang subdistrict, Mueang district, Phitsanulok province. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation 8(1): 67-80. (in Thai)

Louhapensang, C. and S. Saengratwatchara. 2018. Development product design from cultural capital of ancient market, Si Satchanalai district, Sukhothai province. Journal of Industrial Education 17(1): 52-60. (in Thai)

Manirochana, N. 2017. Community based tourism management. Journal of International and Thai Tourism 13(2): 25-46. (in Thai)

Ministry of Tourism and Sports. 2021. National Tourism Development Plan No. 3 (2023-2027). Ministry of Tourism and Sports, Bangkok. (in Thai)

Mukkaew, A. 2014. Knowledge management to develop the management potential of community-based tourism, Prunai sub-district, Koh Yao district, Phangnga province. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat University 6(1): 123-133. (in Thai)

National Tourism Policy Board. 2016. Community-based tourism development criteria of Thailand. (Online). Available: https://opendata.data.go.th/dataset/item_db41976b-78b5-4c3d-b13d-223414de8c2b (February 9, 2022). (in Thai)

Poonklat, V., B. Tharathuek and S. Wongpaisanlux. 2023. Community-based tourism for the sustainable development. Interdisciplinary Academic and Research Journal 3(2): 793-812. (in Thai)

Veeranavin, L. and T. Unaromlert. 2010. The development of a model for communication knowledge on sufficiency economy to resolve the poverty situation: A case study of guava and rose apple farmers in Nakhon Pathom province. Silpakorn Educational Research Journal 1(2): 27-40. (in Thai)

Visadsoontornsakul, P., C. Na Talang, C. Jittithavorn and C. Tungbenchasirikul. 2020. The potentiality development of community-based tourism in Nakhon Ratchasima province. Rajapark Journal 14(34): 31-43. (in Thai)