การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตังเมกรอบของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด

Main Article Content

กฤตติยา สัตย์พานิช
กฤษณา ถนอมธีระนันท์
ปัญญาณัฐ ศิลาลาย
ณรงค์ อนุพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งศึกษาจาก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบ คือ ประธานและรองประธานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน และผู้อาวุโสในชุมชน จำนวน 2 คน และกลุ่มที่ 2 ศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน ส่วนกลุ่มที่ 3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่เทศบาลน้ำเชี่ยว จำนวน 2 คน และคณะผู้วิจัย จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกประเด็นการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ตังเมกรอบของบ้านน้ำเชี่ยวมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านสีสัน และรสชาติ สมาชิกกลุ่มมีความรู้และทักษะความชำนาญในการผลิตตังเมกรอบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตังเมกรอบด้วยการเพิ่มรสชาติกาแฟ และบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลลวดลายไม้ตรงบริเวณกล่อง มีประวัติบ้านน้ำเชี่ยวและโลโก้บนบรรจุภัณฑ์

Article Details

How to Cite
[1]
สัตย์พานิช ก. , ถนอมธีระนันท์ ก., ศิลาลาย ป. และ อนุพันธ์ ณ. 2024. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นตังเมกรอบของวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว บ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 12, 2 (เม.ย. 2024), 12–21.
บท
บทความวิจัย
Author Biography

กฤตติยา สัตย์พานิช, สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

-

References

Butler, R. W., C. M. Hall and J. Jenkins. 1998. Tourism and recreation in Rural areas, Wiley, New York. 250 p.

Chumkate, J. 2015. Authentic evaluation and management approach of OTOP herbalproduct of SMEs entrepreneur in western region of Thailand. Journal of Advanced Management Science 3(2): 123-127. (in Thai)

Chumworathayee, N. 2014. Development administration of Muslim community producing Tung-may dessert in Ban Nam Chiew Tumbol Nam Chiew Amphur Lam-Ngob Trat province. Journal Phranakhon Rajabhat University 5(1): 13-23. (in Thai)

Macmillan, T. T. 1971. The Delphi technique. Paper Presented at the Annual Meeting of the California Junior Colleges Associations Committee

on Research and Development. Monterey, California. 24 p.

Patcharametha, T. 2016. Handicraft products and the development into the OTOP products. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) 36(1): 67-80. (in Thai)

Phuphantrakul, P. B., Phosing, A. Jansuri and C. Fuangkaew. 2021. Guideline for the tourism systems development of Ban Nam Chieo, Trat province. Journal of Humanitice & Social Science, Khon Kaen University 38(2): 193-213. (in Thai)

Pinkum, S. 2023. Product and packaging development of japanese sweet potato of Tha Muang community, Selaphum district, Roi Et province. Journal of Community Development and Life Quality 11(1): 11-20. (in Thai)

Thitijaruschai, T. Prommai, P. and Urairat, Y. (2023). Impacts of packaging design and online marketing communication on customer decision-making for brownies of Triple J Bakery Brand. Journal of Humanities and Social Sciences Princess of Naradhiwas University 11(1): 1-24. (in Thai)

Sasongkoah, T. 2011. Intelligence and creating local wisdom. Institute of Culture and Arts Journal, Srinakharinwirot University 13(1): 27-30. (in Thai)

Wimuktalop, W., W. Mangwaen and A. Banyongpisut. 2023. The development and processing of local red lotus products in Bang Lan district, Nakhon Pathom province. Journal of Community Development and Life Quality 11(2): 143-151. (in Thai)

Yuangkhaew, P. and P. Dechasetsiri. 2023. The packaging development of chili paste to enhance the products of the Khao Khirit sub-district housewives group, Phran Kratai District, Kamphaeng Phet Province. Phikun Journal 21(2): 89-108. (in Thai)