การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มจักสานบ้านวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศิริภรณ์ บุญประกอบ
กรรณิการ์ ประทุมโทน
รัชตา มาอากาศ
สวรรยา หาญวงษา
กานต์ธีรา โพธิ์ปาน
นนท์ แสนประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชน รูปแบบลวดลายเดิม และผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์จากลวดลายเดิม และประเมินความคิดเห็นต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพจักสานไม้ไผ่บ้านวัดโบสถ์ จํานวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามความคิดเห็นต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์จากบุคคลที่สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 84 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มจักสานบ้านวัดโบสถ์ผลิตงานจักสานไม้ไผ่ เพื่อจำหน่าย อาทิ ตะกร้า กระบุง พัด ฯลฯ ด้วยลวดลายเดิม ได้แก่ ลายสอง ลายสาม ปัจจุบันมีการปรับลวดลายให้เข้ากับยุคสมัย ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค แต่คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ชุมชน 2) ผลการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ ได้ผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสานไม้ไผ่ลายสอง ตกแต่งด้วยผ้าฝ้ายทอ พร้อมหูหิ้วไม้ไผ่ ที่มีความสวยงาม ทันสมัย ตอบสนองผู้หญิงทำงานที่แต่งกายชุดผ้าไทย ผลประเมินคุณภาพต้นแบบผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับดี ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช 40/2546 และ 3) ผลประเมินความคิดเห็นต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
บุญประกอบ ศ., ประทุมโทน ก. , มาอากาศ ร. , หาญวงษา ส. , โพธิ์ปาน ก. และ แสนประสิทธิ์ น. 2023. การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้แนวคิดไทยแลนด์ 4.0 สู่การเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ของกลุ่มจักสานบ้านวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก . วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 12, 1 (ธ.ค. 2023), 1–11.
บท
บทความวิจัย

References

Anderson, L.W. 1988. “Likert Scales”, Education research methodology and measurement: An International handbook. Pp. 427-428. John, D. Keeves, eds, Victoria: Pergamon.

Community Development Department. 2017. OTOP: One tambon one product. (Online). Available: https://nongkhai.cdd.go.th/services/otop-whatis (August 01, 2023) (in Thai)

Kruamek, S. and C. Sangkhaha. 2021. Community product development from bamboo wickerwork products decorated with loincloth for business, Thai Vieng Kiriwan culture community, Nakhon Nayok province. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak 8(2): 49-63. (in Thai)

Maneetrakunthong, A. and T. Baikasem. 2020. Market development towards Thailand 4.0 model to premium OTOP of bamboo handicrafts: Ban Pa Bong community, Saraphi, Chiang Mai. Journal of Community Development and Life Quality 8(1): 227-237. (in Thai)

Nuansara, M., N. Teypinsai and C. Chutinatphuwadon. 2021. Guideline for the development of OTOP and brand product to international standards Chiang Rai province. Dusit Thani College Journal 15(1): 119-134. (in Thai)

Patcharametha, T. 2016. Handicraft products and the development into the OTOP Products. Silpakorn University e-Journal (Social Sciences, Humanities, and Arts) 36(1): 67-80. (in Thai)

Pedcharat, K., M. Ruengsombat and U. Prasongngoen. 2021. Design and development the woven sedge bag product for The Ar-Cheep Satri Ban-wa group, Khon Kaen Province. Journal of Architecture, Design and Construction 3(3): 141-153. (in Thai)

Promchinda, P. and S. Boonyananta. 2021. Development of the contemporary thai wicker handicrafts of the handicraft community enterprise towards sustainability. A multi-site case study. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology 6(12): 576-590. (in Thai)

Pulek, S. 2020. A Study in Indigenous wisdom handicraft to Design the fashion bamboo bag in Amphoe Mae Poen, Nakhon Sawan Province. Academic Services Journal, Prince of Songkla University 31(1): 78-98. (in Thai)

Rodchuen, N. 2017. Designing the basketry bamboo products from local wisdom community enterprise basketry local handicrafts of Baan Dongchaplu, Bangmafor subdistrict, Krok Phra district, Nakhon Sawan province. Art and Architecture Journal Naresuan University 8(1): 12-23. (in Thai)

Sikeawmee, N. 2022. The Development of Wicker handicrafts bamboo furniturefrom folk wisdom in Prachinburi Province. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University 17(2): 77-88. (in Thai)

Sutakcom, O. and T. Somfong. 2020. Product development Innovative weaving with a unique community Bann Pa Ngaew Weaving Group, Tha nuea, Mae On District, Chiang Mai. Journal of Innovative Technology Research 4(2): 22-38. (in Thai)