อุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในทุ่งราบภาคกลางของประเทศไทย: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ

Main Article Content

พรพรรณ เหมะพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อค้นหาอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำชลประทานอย่างมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้น้ำ 2. เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก และปัจจัยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้น้ำกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารองค์กรผู้ใช้น้ำให้มีความเข้มแข็ง วิเคราะห์บนพื้นฐานของการบูรณาการทฤษฎีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 คนจากองค์กรผู้ใช้น้ำ 3 กลุ่มในโครงการชลประทานในทุ่งราบภาคกลางของประเทศไทย ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า อุปสรรคสำคัญที่สุด คือ การบริหารงานภายในกลุ่ม เช่น การขาดกฎระเบียบของกลุ่มในการร่วมรับผลประโยชน์หรือลงโทษร่วมกัน การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกกลุ่มมีอย่างจำกัด เป็นต้น ในขณะที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักมี 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มผู้ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะ (เจ้าหน้าที่รัฐจากส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น) 2. กลุ่มอิทธิพล (คณะทำงานบริหารการใช้น้ำ) และ 3. กลุ่มผู้พึ่งพิงผู้อื่น (สมาชิกที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุม) โดยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำนับเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรผู้ใช้น้ำและกลุ่มผู้ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะ ดังนั้น ในการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำชลประทานอย่างมีส่วนร่วม องค์กรผู้ใช้น้ำควรสร้างความสัมพันธ์แบบเครือข่ายของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักผ่านการพัฒนาทุนทางสังคมทั้งภายในและภายนอกกลุ่มผู้ใช้น้ำ

Article Details

How to Cite
[1]
เหมะพันธุ์ พ. 2023. อุปสรรคของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำชลประทานในทุ่งราบภาคกลางของประเทศไทย: ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 11, 2 (พ.ค. 2023), 103–114.
บท
บทความวิจัย

References

Adom, R. K. and M. D. Simatele. 2022. The role of stakeholder engagement in sustainable water resource management in South Africa. Natural Resources Forum 46(4): 410-427.

Chanhom, B. 2021. Guidelines for the development of public participation in water management towards sustainability. Journal of Roi Kaensarn Academi 6(6): 340-356. (in Thai)

Donaldson, T. and L. E. Preston. 1995. The stakeholder theory of the corporation: Concepts, evidence, and implications. Academy of Management Review 20(1): 65-91.

Freeman, R. E., S. D. Dmytriyev and R. A. Phillips. 2021. Stakeholder theory and the resource-based view of the firm. Journal of Management 47(7): 1757–1770.

Galaskiewicz, J. 1985. Interorganizational relations. Annual Review of Sociology 11: 281-304.

Jiumpanyarach, W. 2022. Participatory on agriculture: Ban Rai–Khao Din community, Kaeng Khoi district, Saraburi province. Journal of Community Development and Life Quality 10(2): 159-168. (in Thai)

Kirk, P. and A. M. Shutte. 2004. Community leadership development. Community Development Journal 39(3): 234-251.

Koza, M. P. and A. Y. Lewin. 1998. The co-evolution of strategic alliances. Organization Science 9(3): 255-264.

Martiskainen, M. 2017. The role of community leadership in the development of grassroots innovations. Environmental Innovation and Societal Transitions 22: 78-89.

Meesiripan, S. and K. Wongwatthanaphong. 2021. Participatory management to cope with and solve flooding problems. Journal of Roi Kaensarn Academi 6(11): 317-331. (in Thai)

Mitchell, R. K., B. R. Agle and D. J. Wood. 1997. Toward a theory of stakeholder identification and salience: Defining the principle of who and what really counts. Academy of Management Review 22(4): 853-886.

Office of Agricultural Economics. 2021. Land utilization in Thailand (Online). Available: https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2564.pdf (July 23, 2022). (in Thai)

Office of Permanent Secretary for Ministry of Labour. 2021. Labour statistics yearbook 2021. (Online). Available: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/2/2022/08/FinalreportStatictis2564-for16Aug2565.pdf (July 23, 2022). (in Thai)

Oliver, C. 1990. Determinants of interorganizational relationships: Integration and future directions. Academy of Management Review 15(2): 241-265.

Osborn, R. N. and J. Hagedoorn. 1997. The institutionalization and evolutionary dynamics of interorganizational alliances and networks. Academy of Management Journal 40(2): 261-278.

Royal Irrigation Department. 2022. Results of performance evaluation of irrigation water users organizations in Thailand. (Online). Available: http://wug.rid.go.th/listname_rio_result_strength.php (September 30, 2022). (in Thai)

Worawongpongsa, W., T. Wongsheree and W. Manish. 2021. Factors affecting on participation in water resource management of people in Rang Bua subdistrict, Chom Bueng district, Ratchaburi province. Journal of Community Development and Life Quality 9(1): 170-182. (in Thai)