การขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยร่วมกับการบริการวิชาการโดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความมั่นคงทางอาหารของชุมชนรอบอ่าวบ้านดอน การดำเนินการแบ่งเป็น 3 กิจกรรมด้วยกันคือ กิจกรรมที่ 1 เป็นการวิจัยเพื่อศึกษามิติความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนรอบอ่าวบ้านดอน กิจกรรมที่ 2 สร้างแผนชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และกิจกรรมที่ 3 การจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารที่ยั่งยืน สำหรับกลุ่มตัวอย่างในกิจกรรมที่ 1 คือ ครัวเรือนรอบอ่าวบ้านดอนจำนวน 400 ครัวเรือน โดยการใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูล ในส่วนกิจกรรมที่ 2 และ 3 เป็นการร่วมจัดทำกับผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบล เครือข่ายการอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน ผลการศึกษา จากกิจกรรมที่ 1 พบว่า ปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารรอบอ่าวบ้านดอนนั้น มิติการพึ่งพาตนเองด้านอาหารมีปัญหามากที่สุด กล่าวคือ ครัวเรือนจะใช้วิธีการหารายได้และมาซื้ออาหารที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าการพึ่งพาตนเอง รวมถึงมิติด้านฐานทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่งและทะเล พบว่า ครัวเรือนมีความกังวลถึงความยั่งยืนของทรัพยากร จากผลการศึกษาดังกล่าวมาสู่กิจกรรมที่ 2 ร่วมกันกับแกนนำในท้องถิ่น สร้างแผนความมั่นคงทางอาหารร่วมกัน ทั้งนี้ในปีที่ 1 จะดำเนินการสร้างบ้านปลา เพื่อเป็นการสร้างความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในสถานที่ที่เลือกทำกิจกรรมและเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลา ซึ่งจะดำเนินการสร้างบ้านปลาและปล่อยพันธุ์ปลาในกิจกรรมที่ 3 พื้นที่ที่จัดดำเนินการทั้งหมด 5 พื้นที่ คือ ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง ตำบลบางโพธิ์และบางไทร อำเภอเมือง ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา และตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
Choiejita,R. and R.Teungfung. 2014. Study of the Energy Consumption Expenditures of the Poor Household in Thailand. Journal of Social Development. 16(2): 48-64. (in Thai)
FAO, IFAD, UNICEF, WFP and WHO. 2021. The State of Food Security and Nutrition in the World 2021: Transforming Food Systems for Food Security, Improved Nutrition and Affordable Healthy Diets for All., FAO., Rome. 240p.
Food and Drug Administration. 2011. Strategic Framework for Food Management in Thailand. Thai Health Promotion Foundation, Bangkok. 118p. (in Thai)
Kongrithi, W. and L. Teeratansirikool. 2021. Food security in Ban Don Bay fishery household. Journal of Community Development and Life Quality. 9(2): 257–266. (in Thai)
Penpong, M. 2017. Food consumption behaviors and decisions that affect the health of older person in Suratthani Province. Journal of Srivanalai Vijai. 7(2): 90–103. (in Thai)
Sararuk, M. and S. Sannam. 2014. Household food security in Mueng Mee Noi village, Kaunwon sub-district, Mueng district, Nongkai province. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University 16(3): 25-37. (in Thai)
Somboonsuke, B. and P. Phitthayaphinant. 2021. Food around the Home and Para-rubber Farmer Households’ Food Security in Bang Rieang. Journal of Liberal. 22(2): 196-218. (in Thai)
Songsrirote, N. 2015. Food security and household management capacity of farmer under Agricultural Land Reform Office in Mahasarakham province. NIDA Development Journal 55(1): 1- 25. (in Thai)
Sutum, P. (2021). Local Wisdom for Sustainable Resources Management at Bandon Bay in Suratthani. Journal of Humanities and Social Sciences, Vol. 13(2): 35-62. (in Thai)
Thongoupragran, B. 2018. Local Food: Food Security in the Cultural Dimension: A Case Study of Ban Taling Daeng Community, Kanchanaburi Province. Princess of Naradhiwas University Journal. 5(3): 107–119. (in Thai)