การจัดการความรู้และการพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการอุทกภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการความรู้และพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการอุทกภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยชุมชนของตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มาใช้การจัดการความรู้ และการประชุมเชิงสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาแผนปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนสำคัญและเกี่ยวข้องกับการจัดการอุทกภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพุคาที่ได้มาอย่างเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์การวิจัย 16 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประยุกต์ใช้การศึกษาภาคสนาม ด้วยวิธีสำรวจชุมชน สัมภาษณ์แบบเจาะลึก สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ประชุมกลุ่มเฉพาะ และศึกษาจากเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแบบสามเส้าด้านข้อมูล และด้านวิธีรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แบบสร้างข้อสรุป โดยการจำแนกชนิดข้อมูล ผลการวิจัยที่สำคัญ คือ 1) ความรู้ในการจัดการอุทกภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพุคา เริ่มจากเตรียมพร้อมรับมือโดยเตรียมข้อมูล เตรียมคน กลไก เตรียมบ้าน พร้อมสู้และอยู่กับน้ำ ทบทวนประสบการณ์ และกำหนดฤดูกาลผลิตใหม่ จัดตั้งศูนย์ประสานงาน ศูนย์พักพิง วางระบบคุ้มบ้าน เตรียมการคมนาคม และ 2) แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการอุทกภัยอย่างเป็นระบบและยั่งยืนโดยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลพุคา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 9 ส่วน คือ บทนำ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และสภาพความเสี่ยงต่ออุทกภัยของตำบลพุคา การจัดตั้งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย การปฏิบัติก่อนเกิดอุทกภัย การปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน การอพยพ การปฏิบัติหลังเกิดอุทกภัย การสื่อสาร และการประสานการปฏิบัติกับองค์การสาธารณกุศล
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ไททัศน์ มาลา วลัยพร ชิณศรี และ วิไลลักษณ์ เรืองสม. 2558. การบริหารจัดการอุทกภัยอย่างยั่งยืนขององค์การ บริหารส่วนตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 5(2): 173-183.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. 2558. ชุมชนกับความรู้ในการจัดการภัยพิบัติ กรณีศึกษา ตำบลบางช้าง จังหวัดนครปฐม. วารสารเกษมบัณฑิต 16(2): 82-93.
ประเวศ วะสี. 2555. ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). กรุงเทพฯ.
ปรีชา ปิยจันทร์. 2554. ชุมชนกับการจัดการอุทกภัยปี พ.ศ. 2554: กรณีศึกษา ชุมชนอยู่เจริญ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร (อยู่เจริญโมเดล). วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม 7(2): 17-28.
พันธ์ศิริ ธนาริยะวงศ์. 2556. เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติจากอุทกภัย หมู่บ้านเก้ากอ ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยบริการ 24(1): 51-71.
ศิรินันต์ สุวรรณโมลี. 2560. การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุในการลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวระดับหมู่บ้านจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของจังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 6(1): 633-642.
อํานวย ธัญรัตน์ศรีสกุล อติญาณ์ ศรเกษตริน และ ชุลีพร เอกรัตน์. 2555. การเตรียมความพร้อมในการรับอุทกภัยของประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 22(1):76-84.