การบริหารจัดการขยะชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับชุมชนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการจัดการขยะของชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมฑล 4 ชุมชน ได้แก่ เคหะสถานเจริญชัย สงวนคำ การค้าหนองแขม หมู่ที่ 2 และหมู่บ้านพบสุขในการจัดการขยะ ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเสนอแนวทางเหมาะสมในการจัดการขยะของ อบต. ในคลองบางปลากด จ.สมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายและปฏิบัติการ และวิเคราะห์ความสำเร็จ/ความสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ การศึกษาพบว่า ปัจจัยความสำเร็จในระยะแรกนั้นคือ ความเข้มแข็งของผู้นำชุมขน การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การมีส่วนร่วมของชุมชน และการประชาสัมพันธ์/สื่อสารกับชุมชน ต่อมาปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการจัดการขยะให้ยั่งยืน ได้แก่ ความต่อเนื่องในการดำเนินการของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน การสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ แหล่งความรู้และเทคโนโลยีตามความต้องการเฉพาะของชุมชน และการสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย โดยการจัดการขยะดังกล่าวสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ครัวเรือนเป็นศูนย์กลาง ชุมชนมีความยืดหยุ่น และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในการจัดการขยะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญให้การจัดการขยะในพื้นที่ อบต. ในคลองบางปลากด เกิดความยั่งยืนได้ โดยเริ่มที่ชุมชนขนาดเล็กในพื้นที่ อบต. ที่มีความพร้อมเป็นลำดับแรก
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. 2551. คลังหลวงกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. เพชรรุ่ง การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 103 หน้า.
ปัณณพัฒน์ ฤทธิ์เรืองเดช จำลอง โพธิ์บุญ และ จุฑารัตน์ ชมพันธุ์. 2560. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย จังหวัดปทุมธานี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ 7(1): 85-101.
ฝ่ายทะเบียนราษฎร. 2558. ข้อมูลประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. องค์การบริหารส่วนตำบลในคลองบางปลากด, สมุทรปราการ.
มณี อาภานันทิกุล รุจา ภู่ไพบูลย์ และ กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์. 2558. การวิเคราะห์และบูรณาการดัชนีชี้วัดสุขภาพพอเพียงกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสภาการพยาบาล 30(1): 41 - 57.
วิชัย โถสุวรรณจินดา. 2558. มาตรการทางกฎหมายในการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศไทย. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 11(2): 76–89.
ศุภษร วิเศษชาติ สมบัติ ศิลา และ สุนิศา แสงจันทร์. 2560. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยของประชาชนชุมชนที่ 2 เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(2): 422 – 445.
สมชาย มุ้ยจีน. 2559. แนวทางการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 12(2): 24–41.
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2560. รายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำเดือนกรกฎาคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2560. สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, กรุงเทพฯ. 1 หน้า.