การพัฒนาเตาอบชุบโลหะโดยใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิแบบพีไอดี สำหรับอุตสาหกรรมผลิตมีดพร้าชุมชน

Main Article Content

ศุภชัย ปลายเนตร
ณัฐชนันท์ ปลายเนตร

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาเตาอบชุบมีดพร้า มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเตาอบชุบอุณหภูมิสูงสำหรับใช้ทดแทนเตาอบชุบแข็งมีดพร้าแบบเดิม  ซึ่งเป็นแบบใช้เชื้อเพลิงถ่านไม้ เตาอบมีขนาดกว้าง 0.42 เมตร ยาว 0.49 เมตร สูง 1.06 เมตร ใช้พลังงานความร้อนด้วยไฟฟ้าขนาด 3,000 วัตต์ ควบคุมอุณหภูมิเตาอบด้วยวิธีการควบคุมแบบพีไอดีคอนโทรล วัสดุที่ใช้ทดสอบ คือ เหล็กแหนบของรถยนต์ ซึ่งใช้นำมาผลิตมีดพร้า ผลการพัฒนาเตาอบพบว่ามีประสิทธิด้านอุณหภูมิสูงสุด 900 องศาเซลเซียส สามารถควบคุมอุณหภูมิและความร้อนได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้ลดการสูญเสียด้านพลังงานความร้อนได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเตาอบชุบแบบเชื้อเพลิง

Article Details

How to Cite
[1]
ปลายเนตร ศ. และ ปลายเนตร ณ. 2018. การพัฒนาเตาอบชุบโลหะโดยใช้ระบบควบคุมอุณหภูมิแบบพีไอดี สำหรับอุตสาหกรรมผลิตมีดพร้าชุมชน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 107–113.
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2551. แนวทางการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและฉนวนเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. กระทรวงพลังงาน, กรุงเทพฯ.

ธนาคม สุนทรชัยนาคแสง. 2547. การถ่ายเทความร้อน. บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ.

ไพฑูรย์ สาลี. 2545. งานตีเหล็กและชุบแข็ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดนครนายก. เอกสารรายงานภูมิปัญญาท้องถิ่นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, กรุงเทพฯ.

ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีเซรามิก. 2537. การสร้างเตาเผาเซรามิกประสิทธิภาพสูงชนิดเตาไฟเบอร์. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.

Agency for Toxic Substances and Disease Registry. 1997. Used mineral-based crankcase oil. (Online). Available: http//www.atsdr.cdc.gov/tfacts102 .html (April 23, 2001).

Singh R, R. C., Maheshwari and T. P. Ojha. 1980. Development of husk fired furnace. Journal of Agricultural Engineering Research 25: 119-120.