หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุน ผสมกะลาปาล์มน้ำมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้นำกะลาปาล์มน้ำมันที่มีขนาดอนุภาค 9.50 มิลลิเมตร (3/8 นิ้ว) ผสมในคอนกรีตพรุนหรือคอนกรีตไร้มวลละเอียด โดยกะลาปาล์มจะทำหน้าที่แทนมวลรวมหยาบหรือหินบางส่วน โดยแทนที่ด้วยอัตราส่วนร้อยละ 0, 10, 20, 30, 40 และ 50 ของน้ำหนักมวลรวมในคอนกรีตปกติ ทำการทดสอบกำลังรับแรงอัด หน่วยน้ำหนักและการดูดซึมน้ำของคอนกรีต ที่อายุ 28 วัน จากการวิจัยพบว่าคอนกรีตพรุนที่ใช้กะลาปาล์มน้ำมันแทนที่มวลรวมหยาบ ในอัตรา ร้อยละ 10 ถึง 50 โดยน้ำหนักของมวลรวมหยาบ ส่งผลให้กำลังรับแรงอัดลดลงร้อยละ 27 ถึง 91 เมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ คอนกรีตพรุนมีหน่วยน้ำหนักลดลงร้อยละ 10 ถึง 38 เมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ คอนกรีตพรุนมีค่าการดูดซึมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ถึง 4.2 เมื่อเทียบกับคอนกรีตปกติ ดังนั้นกะลาปาล์มสามารถนำมาใช้แทนที่มวลรวมหยาบในคอนกรีตพรุนได้ โดยการออกแบบต้องพิจารณาปัจจัยเช่น หน่วยน้ำหนัก หรือความสามารถในด้านการระบายน้ำเป็นปัจจัยหลัก ส่วนด้านกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตจะพิจารณาเป็นปัจจัยรอง
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ดนุพล ตันโยภาส และ อภิชาต พ่วงพี. 2550. คอนกรีตมวลรวมกะลาปาล์มน้ำมันผสมหินฝุ่นแกรนิต.หน้า 175-180. ใน: รายงานการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 12 (NCCE12), พิษณุโลก.
ธรรมนูญ โสมะพันธ์ อัมรินทร์ รามไชย และ ยาโกบ หีมมะหมัด. 2552. การศึกษาเบื้องต้นในการทำคอนกรีตพรุนเพื่อการระบายน้ำ. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย, 61 หน้า.
ยุวดี หิรัญ พีรพงษ์ ศิวินา และสุรชาติ ราโชติ. 2550. การศึกษาส่วนผสมของคอนกรีตสำหรับผลิตบล็อกปูผิวทางระบายน้ำได้. การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 3. จังหวัดชลบุรี.
ยุวดี หิรัญ ธวัชชัย ตันชัยสวัสดิ์ พลยุกต์ มูลรังสี วิชัย บำรุงนาม และ อัญชลี เพียสุร. 2552. บล็อกปูถนนคอนกรีตพรุน. หน้า13-18. ใน: การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปี ครั้งที่ 4. จังหวัดอุบลราชธานี. หน้า 13-18.
American Concrete Institute (ACI). 2006. Pervious Concrete (522R-06). Farmington Hills, Michigan.
Mannan, M. A. and C. Ganapathy. 2001. Mix design for oil palm shell concrete. Cement and Concrete Research 31: 1323-1325.
Yang, Z., W. Ma, W. Shen and M. Zhou. 2008. The aggregate gradation for porous concrete pervious road base material, Journal of Wuhan University of Technology-Material Science Education 23: 391-394.