การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นเพื่อ 1) ประเมินศักยภาพของจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ 2) ศึกษาและส่งเสริมศักยภาพของคนในชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3) สร้างเส้นทางท่องเที่ยวและทดลองจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่โดยชุมชนและ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบประเมิน แบบสังเกต และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 79 คน ประกอบด้วยเกษตรกร ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน และประชาชนผู้สนใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) จุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลของอำเภอ  เสาไห้ที่มีศักยภาพค่อนข้างสูง ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามตามธรรมชาติและเกษตรกรเจ้าของจุดถ่ายทอดมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เด่นชัด 2) ศักยภาพของคนในชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวที่ได้รับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการและทดลองจัดการท่องเที่ยวด้วยตนเอง และ 3) ความสามารถในการกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับความต้องการและทุนทางสังคมของชุมชนที่เกิดจากกระบวนการคิดและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้การจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่โดยชุมชนในอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
[1]
กมลศักดาวิกุล โ. 2018. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 53–65.
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2545. การจัดการการท่องเที่ยว. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 62 หน้า.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2546. ท่องเที่ยวเกษตรทั่วถิ่นไทย. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 112 หน้า.

เดชา โต้งสูงเนิน. 2543. การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร: กรณีศึกษาบ้านม่วงคำ ตำบลโป่งแยงโดยโครงการพัฒนาป่าไม้สวนสิริกิติ์อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 105 หน้า.

ธฤษวรรณ นนทพุทธ และเยาวนิจ กิตติธรกุล. 2547. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอ ตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10(1): 64-82.

พจนา สวนศรี. 2546. คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, กรุงเทพฯ. 118 หน้า.

ยศ สันตสมบัติ. 2547. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร (พิมพ์ครั้งที่ 2). โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 340 หน้า.

ยุรีพรรณ แสนใจยา. 2545. แนวทางการพัฒนาไร่ชาสุวิรุฬห์ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงรายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 108 หน้า.

วรพล วัฒนเหลืองอรุณ. 2544. การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในระบบเหมืองฝายของภูมิปัญญาชาวบ้าน: กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยอีค่าง ตำบลแม่วินอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 151 หน้า.

สยามล ชัยรัตนอุดมกุล. 2549. การพัฒนาศักยภาพของ คนในท้องถิ่นในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวตามลำน้ำป่าสักของอำเภอเสาไห้อย่างเป็นระบบและยั่งยืน. หน้า 127-133. ใน: เทิดชาย ช่วยบำรุง (บก.). รวมบทความวารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ปี พ.ศ. 2549. สถาบันวิจัยเพื่อการท่องเที่ยวไทย, กรุงเทพฯ.

สอรัฐ มากบุญ และธวัชชัย ทองธรรมชาติ. 2549. การศึกษารูปแบบเส้นทางและความพร้อมของเกษตรกรในการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ 24(1): 36-44.