การพัฒนาศักยภาพด้านบัญชีการเงินของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พุทธมน สุวรรณอาสน์

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาศักยภาพด้านการบัญชีการเงิน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบล สง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการด้านบัญชีและการบริหารจัดการด้านการเงินของกลุ่มการตัดเย็บของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่  และ 2) เพื่อพัฒนาระบบบัญชีและระบบการบริหารจัดการด้านการเงินที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มการตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและการบริหารการเงินของธุรกิจเข้ามาประยุกต์กับวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ใช้การสัมภาษณ์กลุ่มย่อยจากกลุ่มประชากรกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ระบบบัญชีการเงินวิสาหกิจชุมชน กลุ่มประชากร คือ กลุ่มสมาชิกกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงจำนวน 40 ราย  และสมาชิกชุมชน (ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม) จำนวน 8 ราย  โดยสถานที่การศึกษา คือ ชุมชนตำบลสง่าบ้าน หมู่ที่ 1 อำเภอดอยสะเก็ด  จังหวัดเชียงใหม่


ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถทราบปัญหาและความต้องการด้านบัญชีและการบริหารจัดการด้านการเงินของกลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบว่ากลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดงยังไม่มีระบบบัญชีการเงินมีเพียงการบันทึกรายรับรายจ่าย ซึ่งข้อมูลทางบัญชีการเงินไม่เพียงพอต่อการใช้ในการบริหารงานและตัดสินใจ จึงมีความต้องการระบบบัญชีการเงินที่เหมาะสมกับกลุ่มฯ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางบัญชีการเงินในการบริหารจัดการกลุ่มฯ ได้ จากนั้นจึงได้นำปัญหาและความต้องการดังกล่าวมาออกแบบและสร้างระบบบัญชีการเงินของกลุ่มฯ โดยมีสมุดบัญชี 6 เล่ม ได้แก่ สมุดบัญชีเงินสด สมุดบัญชีคุมวัตถุดิบ สมุดบัญชีคุมต้นทุนสินค้า สมุดบัญชีคุมสินค้าคงคลัง         สมุดบัญชีค่าไฟฟ้า และสมุดทะเบียนสินทรัพย์ ด้านระบบบัญชีของกลุ่มฯ ได้แก่ ระบบรายรับ ระบบรายจ่าย ระบบต้นทุนสินค้าระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบคำนวณค่าไฟฟ้า ระบบทะเบียนสินทรัพย์ รวมทั้งการควบคุมภายใน ตลอดจนระบบการเงินกลุ่มฯ ได้แก่ การจัดสรรเงินทุน การบริหารสภาพคล่อง การบริหารจัดการหนี้สินและแหล่งเงินทุน และการจัดสรรผลตอบแทน โดยกลุ่มฯ ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางบัญชีการเงิน เช่น ในการกำหนดราคาขายได้อย่างสมเหตุสมผล สามารถจัดทำผลการดำเนินงาน สามารถเป็นระบบโปร่งใส ตรวจสอบจากสมาชิกได้ และกลุ่มฯ มีความเข้มแข็งทางด้านบัญชีการเงิน โดยมีปัจจัยเสริมมาจากสมาชิกกลุ่มฯ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน สมาชิกกลุ่มฯ จึงสามารถประยุกต์ความรู้ของตนเองเข้าสู่ระบบบัญชีการเงินกลุ่มฯ ได้ ซึ่งส่งผลทำให้ระบบบัญชีกลุ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
สุวรรณอาสน์ พ. 2018. การพัฒนาศักยภาพด้านบัญชีการเงินของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 43–52.
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ คำใจ. 2552. การวัดมูลค่าเพิ่มของสินทรัพย์ชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคชนบทและชุมชนเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 10(2): 49-56.

กัลยานี ปฏิมาพรเทพ. 2552. ระบบบัญชีแบบชาวบ้าน(ตามขั้นบันได) ของนายฝาก ตรีถวัลย์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thaiwis dom.org/p_pum/move/move_news/move_pum15.htm (7 มกราคม 2554).

จงจิตต์ หลีกภัย. 2543. ระบบบัญชี. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 330 หน้า.

จันทร์เพ็ญ ดวงแก้ว. 2552. บัญชีครัวเรือนบันทึกเพื่อวางแผนอนาคต จดแล้วไม่จน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.office.cpu.ac.th/bba1/file/05-account.doc (1 กุมภาพันธ์ 2554).

ณฐพร พันธ์อุดม. 2549. แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ปทุมธานี. 461 หน้า.

ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. มปป. การบริหารชุมชน (สังคม) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมเมือง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. softbizplus.com/thesis/518-management-strengthening-of-the-society-tourban-society (10 กุมภาพันธ์ 2554).

ยุพเรส พึ่งแสง. 2545. การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนทางการเงินในการผลิตน้ำดื่มของวิสาหกิจหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 100 หน้า.

วาริพิณ มงคลสมัย. 2552. การจัดการความรู้ทางการบัญชีเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในการผลิตผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองกวัก ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ 10(2): 80-89.

วาริพิณ มงคลสมัย. 2553. การจัดการความรู้ทางการเงินและการบัญชีเพื่อพัฒนาการผลิตเห็ดและผักปลอดสารพิษกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ บ้านเจดีย์แม่ครัว อ.สันทราย จ.เชียงใหม่. วารสารวิจัย ราชภัฏเชียงใหม่ 11(1): 64-73.

ศักดา ลักษณ์แสงวิไล. 2550. การศึกษาปัญหาด้านบุคลากรทางการบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่. 89 หน้า.

สุทธิการบัญชี. 2553. ระบบบัญชีสำหรับชาวบ้าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.suthiaccounting.com (15 กุมภาพันธ์ 2554).