ผลของการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

Main Article Content

ญาณิศา โกมลสิริโชค

บทคัดย่อ

การพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือพื้นเมืองที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย  มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสมบัติของผ้าทอมือพื้นเมืองใยผสมที่ผลิตจากเส้นด้ายใยผสมระหว่างเส้นใยฝ้ายและเส้นใยไคติน-ไคโตซาน ที่มีความสามารถในการต่อต้านและยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยนำเส้นใยฝ้ายพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดลำปางมาผสมกับเส้นใยไคติน-ไคโตซาน ที่มีชื่อการค้าว่าแครปยอน มีค่าความละเอียดอ่อนที่ 5.38 โดยมีอัตราส่วนผสมของเส้นใยฝ้าย : เส้นใยแครปยอน = 100 : 0, 90 : 10,   80 : 20, 70 : 30 และ 0 : 100 โดยน้ำหนัก ปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยเครื่องเมเดลรีจักรา ได้เส้นด้ายขนาด Ne 5.62 – 5.94 เพื่อใช้เป็นเส้นด้ายพุ่งในผ้าทอ จากนั้นนำไปทอด้วยกี่พื้นเมือง ด้วยโครงสร้างลายทอแบบลายขัด 1 - 1 ใช้เส้นด้ายฝ้ายอุตสาหกรรมขนาด Ne 40/2 เป็นเส้นด้ายยืน จำนวนเส้นด้ายยืน 40 เส้นต่อนิ้ว เมื่อทำการทอเป็นผืนผ้าแล้วจึงนำไปทดสอบความสามารถในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ด้วยเชื้อ Staphylococcus aureus ทั้งผ้าทอใยผสมที่ไม่ผ่านการซักล้างและผ้าทอใยผสมที่ผ่านการซักล้างเป็นจำนวน 5 ครั้ง เวลาที่ใช้ในการทดสอบ คือ 0 และ 24 ชั่วโมง พบว่าผ้าทอใยผสมทุกอัตราส่วนผสมไม่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ ทั้งนี้อาจเนื่องจากในผ้าทอมีปริมาณเส้นใยแครปยอนที่น้อยเกินไป

Article Details

How to Cite
[1]
โกมลสิริโชค ญ. 2018. ผลของการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 1 (ก.ค. 2018), 23–29.
บท
บทความวิจัย

References

จุฑาทิพย์ ฟังกังวานวงศ์ และ สุวบุญ จิรชาญชัย. 2552. การทำเส้นใยไคติน-ไคโตซาน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.material.chula.ac.th/ RADIO47/May/radio5-3.htm (20 เมษายน 2555).

นวลแข ปาลิวนิช. 2542. ความรู้เรื่องผ้าและเส้นใย. เม็ดทราย พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ. 350 หน้า.

มณฑา จันทร์เกตุเลี้ยด. 2541. วิทยาศาสตร์สิ่งทอเบื้องต้น.หอรัตนชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ. 330 หน้า.

เยาวภา สุวัตถิ. 2555. ไคโตซานกับการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์.(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. gpo.or.th/rdi/html/RDINewsYr19No4/1.pdf(20 พฤษภาคม 2556).

ลิลี่ โกศัยยานนท์. 2541. คู่มือวิชาการสิ่งทอ. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, กรุงเทพฯ. 333 หน้า.

วิจารณ์ โภชนกุล. 2545. วิจัยคุณภาพฝ้ายไทย. ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอ สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ. 126 หน้า.

ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ. ต้านแบคทีเรียร้ายไม่ให้มากวนใจ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.Thaitextile.org/tdc/?page_id=661. (20 พฤษภาคม 2556).

สิทธิโชติ วงศ์คุณานันต์. 2551. การศึกษาผ้าถักที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเกิดแบคทีเรีย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ, กรุงเทพฯ. 80 หน้า.