การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติผ่านกระบวน การย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจาก น้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ
- เพื่อศึกษาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ ผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจากน้ำพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และทำการผลิตเป็นผืนผ้าในรูปแบบต่าง ๆ
- เพื่อศึกษาการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- เพื่อสร้างแบรนด์สำหรับผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ “ผ้าทอน้ำแร่แจ้ซ้อน”
การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (depth interviews) กลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ทำการศึกษา เป็นกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านหัวทุ่ง หมู่ 10 ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 1 กลุ่ม และมีการใช้ตัวอย่างน้ำแร่แจ้ซ้อน จากอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนเป็นสารช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ
จากการศึกษา พบว่า น้ำแร่แจ้ซ้อน มีผลต่อการย้อมผ้าสีธรรมชาติ กล่าวคือ ทำให้ได้ผืนผ้าที่มีสีสดใสขึ้นกว่าเดิม สีธรรมชาติติดคงทนมากขึ้น สารเคมีที่อยู่ในน้ำแร่แจ้ซ้อน คือ ธาตุกำมะถัน และสารประกอบต่าง ๆ ที่สามารถเป็นสารช่วยย้อมได้ มีผลทำให้สีธรรมชาติติดเส้นใยได้ดีขึ้น ทำให้เกิดเฉดสีที่หลากหลายขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ “ผ้าทอน้ำแร่แจ้ซ้อน” ที่มีประโยชน์ในด้านการรักษาสุขภาพได้อีกด้วย นอกจากนี้ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้จากการออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่าง ๆ เช่น เครื่องแต่งกาย และผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ผ่านการตลาดระบบอินเตอร์เน็ต Website: http://www.patornamrae.com และการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์สินค้าขึ้นมาใช้ในนาม“ผ้าทอน้ำแร่” เพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการทอผ้าย้อมสีธรรมชาติต่อไป
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2553. การทอผ้า. (ระบบออนไลน์ ). แหล่งข้อมูล: http://www.eng.rmutsv.ac.th/ (2 พฤษภาคม 2553).
ชุลีพร วัชรนนท์. 2526. ออกแบบสิ่งทอ. สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
ดุษฎี สุนทรารชุน. 2531. การออกแบบลายพิมพ์ผ้า. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
ทิพย์วิมล อุ่นป้อง. 2550. การวิเคราะห์ศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าทอบางกลุ่ม ภายใต้โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. อุปกรณ์ทอผ้า. 2553. (ระบบออนไลน์).แหล่งข้อมูล: http://www.student. swu.ac.th/ (2 พฤศจิกายน 2553).
ศูนย์สตรีศึกษา. 2553. วงจรแห่งวัฒนธรรม. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://wsc.soc.cmu.ac.th/ (2 พฤศจิกายน 2553).
อรพิณ จารุสิริรังสี. 2546. การพัฒนาผ้าทอพื้นบ้านกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติแจ้ซ้อนเสลา จังหวัดลำปาง. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ลำปาง.
อรัญญา ศิริผล. 2544. ฝิ่นกับคนม้ง: พลวัตความหลากหลายและความซับซ้อนแห่งอัตลักษณ์ของคนชายขอบ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
อัจฉราพร ไศละสูตร. 2533. ความรู้เรื่องผ้า. ห้างหุ้นส่วน จำกัด เทคนิค 19, กรุงเทพฯ.