ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยังยืน ด้วยงานวิจัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับงานวิจัย
“การวิจัย” เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถเชิงการแข่งขันของประเทศ ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่า กลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลางถึงสูง จะสร้างผลกระทบต่อ GDP ในระดับสูง ดังนั้น การเพิ่มผลิตภาพ (productivity) โดยการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรมเพื่อเพิ่มศักยภาพภายในกลุ่มสินค้าดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศไทยในระยะยาว” (สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ, 2554) ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ระบุว่า การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (competitive advantage) ของประเทศต้องอาศัยองค์ความรู้ชั้นสูง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบการผลิต ซึ่งจะส่งผลผลกระทบต่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
The World Bank. 2013. Research and development expenditure (% of GDP). (Online). Available: http://data.worldbank.org/indicator/GB.XPD.RSDV.GD.ZS/countries?display=map (10 November 2013).
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2551. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.