การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาชั้นดินเหนียวบดอัดของบ่อฝังกลบขยะด้วยน้ำยางธรรมชาติ โดยใช้ดินเหนียวอนินทรีย์ที่มีความเหนียวสูงผสมเข้ากับน้ำยางธรรมชาติ รวม 5 อัตราส่วน คือ ปริมาณร้อยละ 0, 2.5, 5, 7.5, และ10 ของน้ำหนักดินเหนียว ทดสอบสมบัติทางกายภาพ สมบัติทางกล และการแตกร้าว พบว่า น้ำยางธรรมชาติสามารถพัฒนาสมบัติต่าง ๆ ของชั้นดินเหนียวบดอัดให้ดีขึ้น ได้แก่ ความต้านทานแรงอัดแกนเดียวดีขึ้น, การซึมผ่านของน้ำลดลง, ความหนาแน่นแห้งและเปียกเพิ่มขึ้น และการแตกร้าวลดลงอย่างมาก โดยปริมาณน้ำยางธรรมชาติที่เหมาะสมในการพัฒนาชั้นดินเหนียวบดอัดของบ่อฝังกลบขยะ คือ ร้อยละ 5 ของน้ำหนักดินเหนียว เนื่องจากเป็นปริมาณที่ได้ชั้นดินเหนียวบดอัดซึ่งมีสมบัติต่าง ๆ และต้นทุนเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้การพัฒนาชั้นดินเหนียวบดอัดด้วยน้ำยางธรรมชาติ สามารถช่วยลดรอยแตกร้าวหรือช่องว่างด้านบนของบ่อฝังกลบขยะ ทำให้น้ำชะขยะมีปริมาณลดลง รวมทั้งช่วยในการลดการซึมผ่านของน้ำชะขยะที่อาจซึมออกมาจากบ่อฝังกลบขยะและเกิดเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดี
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
บรรชา เงินยวง พงษ์สยาม โสมาบุตร พรชนก วิรัตน์ธรรม และมานิตย์ จันนาคา. 2550. การปรับปรุงสมบัติของอิฐดินเหนียวด้วยน้ำยางธรรมชาติ. วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, กรุงเทพฯ.
ประชุม คำพุฒ. 2549. การใช้น้ำยางพาราปรับปรุงสมบัติด้านการรับกำลังและการเป็นฉนวนกันความร้อนของคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยแห่งชาติ: ยางพารา ฝ่ายอุตสาหกรรม. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
ศิริชัย ห่วงจริง. 2548. การปรับปรุงคุณภาพดินลมหอบขอนแก่นโดยยางธรรมชาติเพื่องานการทาง. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สิทธิชัย ศิริพันธุ์ พิทักษ์ บุญนุ่น กิจถาวร โลหะ และอนุรักษ์ กำเนิดว้ำ. 2548. การใช้ยางธรรมชาติเพื่อพัฒนางานคอนกรีต. เอกสารการประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 10. หน้า 205 –210. ใน: โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้จอมเทียน จ.ชลบุรี.
อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย. 2535. การผสมสารเคมีลงในน้ำยางเพื่อให้ได้ความต้านทานต่อแรงดึงสูงสุด. รายงานผลการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.
ASTM. 2010. Annual Book of ASTM Standard. American Society for Testing and Materials, Philadelphia.
Ohama, Y. 1987. Principle of latex modification and some typical properties of latex-modified mortars and concretes. ACI Materials Journal. 84(16): 511-518.