สมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนด

Main Article Content

นันทชัย ชูศิลป์
ชนาภัทร คุ้มภัย
ชาญณรงค์ ศรีแปลก
วิไล สิตพงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเส้นใยตาลโตนดมาเสริมกำลังให้กับซีเมนต์เพสต์ เพื่อให้ซีเมนต์เพสต์มีคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมดีขึ้น โดยใช้ก้อนตัวอย่างขนาด 100x100x100 มิลลิเมตร นำมาเสริม  เส้นใยตาลโตนดที่ความยาว 2  4  6 และ 8 เซนติเมตร เสริมกับซีเมนต์เพสต์ที่อัตราร้อยละ 10  20 และ 30 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ โดยใช้อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.44 คงที่ทุกส่วนผสม เพื่อใช้ทดสอบกำลังรับแรงอัด และความหนาแน่นที่อายุการบ่ม 7  14 และ 28 วัน และใช้ก้อนตัวอย่างขนาด 400x100x20 มิลลิเมตร นำมาเสริมเส้นใยตาลโตนดที่ความยาว 35 เซนติเมตร เสริมกับซีเมนต์เพสต์ในอัตราร้อยละ 10  20 และ 30 ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ โดยใช้อัตราส่วน น้ำต่อซีเมนต์ (w/c) เท่ากับ 0.44 คงที่ทุกส่วนผสม เพื่อใช้ทดสอบแรงดัด และความหนาแน่นของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนด โดยผลทั้งหมดจะถูกเปรียบเทียบกับซีเมนต์เพสต์ล้วน ผลการศึกษาพบว่า ความยาวและปริมาณของเส้นใยที่เสริมในซีเมนต์เพสต์ในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้กำลังรับแรงอัด และความหนาแน่นของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนดมีค่ากำลังรับแรงอัดที่ลดลง และค่าความหนาแน่นที่ลดน้อยลงด้วย โดยกำลังรับแรงอัดลดลงในอัตราร้อยละ 35.3 และความหนาแน่นลดลงในอัตราร้อยละ 5 แต่ในทางตรงกันข้ามซีเมนต์เพสต์ที่เสริมเส้นใยตาลโตนดในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้ค่ากำลังรับแรงดัดมีค่าเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยกำลังรับแรงดัดเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 38.9 เนื่องจากเส้นใยตาลโตนดเป็นวัสดุที่ช่วยในการยึดเกาะ ทำให้ซีเมนต์เพสต์ผสมใยตาลไม่แยกขาดออกจากกัน ในขณะที่ซีเมนต์เพสต์นั้นเกิดการแตกร้าว นอกจากนี้ พบว่าอายุการบ่มที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการรับกำลังอัด และความหนาแน่นที่เพิ่มขึ้นด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
ชูศิลป์ น., คุ้มภัย ช., ศรีแปลก ช. และ สิตพงศ์ ว. 2018. สมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 2 (ก.ค. 2018), 89–99.
บท
บทความวิจัย

References

นันทชัย ชูศิลป์. 2556. หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชิวิต 1: 97-106.

บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา ปรีดา จันทวงษ์ และโยธิน อึ่งกูล. 2555. การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาอบไอนํ้าผสมเส้นใยไมโครไฟเบอร์. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 21: 226 – 271.

บวร อิศรางกูร ณ อยุธยา ปรีดา จันทวงษ์ และโยธิน อึ่งกูล. 2555. การศึกษาคุณสมบัติทางกลของคอนกรีตมวลเบาอบไอน้ำแบบผสมเส้นใยของผักตบชวา. วิศวสารลาดกระบัง 29(1): 43-48.

บุรฉัตร ฉัตรวีระ และวินัย หอมศรีประเสริฐ. 2554. การศึกษาถึงพฤติกรรมของซีเมนต์เพสต์ผสมวัสดุปอซโซลานจำพวกเถ้าลอยและเถ้าแกลบในรูปแบบการทดสอบด้วยพลังงานไมโครเวฟวารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 34(3): 299-315.

บุรฉัตร ฉัตรวีระ และวินัย หอมศรีประเสริฐ. 2554. การศึกษาความสามารถในการรับแรงอัดและความทนทานของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าแกลบและเถ้าลอย. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 34(3): 279-298.

พิทยา อำพนพนารัตน์ ศุภเวทย์ สงคง และวิฑูร อินทมณี. 2553. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องแยกเส้นใยตาลโตนดสู่ชุมชน. จุลสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี-ราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.นครศรีธรรมราช.

สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี.2552. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของตาลโตนด. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.phetchaburi.doae. go.th/tan_phet/tan2.htm (5 กรกฎาคม 2555).

ศักดิ์สิทธิ์ ศรีแสง. อุปวิทย์ สุวคันธกุล และสุดใจ เหง้าสีไพร. 2550. การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของวัสดุสำหรับคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา ปีที่ 1 ฉบับที่ 1. หน้า 77-87.

Al-Oraimi S.K., Seibi A.C.,1995, Mechanical characterisation and impact behaviour of concrete reinforced with natural fibers, Composite Structures, 32: 165-171.

Chindaprasirt P., Chareerat T., Hatanaka S., 2011, T. High-Strength Geopolymer Using Fine High-Calcium Fly Ash, Journal of Materials in Civil Engineering, 2011, 23(3): 264-270.

Coutts Robert S.P., 2005, A review of Australian research into natural fibre cement composites, Cement and Concrete Composites, 27: 518-526.

Kriker A., Debicki G., Bali A., Khenfer M.M., Chabannet M., 2005, Mechanical properties of date palm fibres and concrete reinforced with date palm fibres in hot-dry climate, Cement and Concrete Composites, 27: 554-564.

Majid Ali, Anthony Liu, Hou Sou, Nawawi Chouw, 2012, Mechanical and dynamic properties of coconut fibre reinforced concrete Construction and Building Materials, 30: 814-825.

Metra. I., Tschegg. E.K., 2013, Fracture energy of natural fibre reinforced concrete, Construction and Building Materials, 40: 991-997.

Reis J.M.L., 2006, Fracture and flexural characterization of natural fiber-reinforced polymer concrete Construction and Building Materials, 20: 673-678.