การผลิตไวน์จากลูกจากโดยใช้การหมักด้วยยีสต์ทางการค้า
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลิตไวน์ลูกจาก โดยเริ่มจากการนำผลจากมาปอกเอาเฉพาะส่วนเนื้อปั่นร่วมกับน้ำในอัตราส่วน 100, 300 และ 500 กรัม/ลิตร ทำการปรับระดับของแข็งที่ละลายได้ในสารละลายด้วยน้ำตาลทรายเพิ่มเติมจากเดิม 2 องศาบริกซ์เป็น 22 องศาบริกซ์ จากนั้นเติมยีสต์ทางการค้า 4 กรัม และปรับระดับความเป็นกรดด่าง ให้เท่ากับ 4.0 จากการทดลอง พบว่าค่าร้อยละแอลกอฮอล์ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด และค่าระดับความเป็นกรดด่างของไวน์จากของชุดทดลองแต่ละชุดมีปริมาณใกล้เคียงกัน และหลังจากการหมักผ่านไป 15 วันจึงทำการตกตะกอนไวน์จากทั้งสามอัตราส่วน ด้วยไข่ขาว และเบนโทไนต์ โดยทำการเปรียบเทียบกับการทดลองควบคุมที่ไม่ใช้สารช่วยตกตะกอน ทำให้ได้ไวน์ 9 สูตร ได้แก่ 1) ลูกจาก 100 กรัม (ไม่เติมสารตกตะกอน) 2) ลูกจาก 100 กรัม+ไข่ขาว 3) ลูกจาก 100 กรัม+เบนโทไนต์ 4) ลูกจาก 300 กรัม (ไม่เติมสารตกตะกอน) 5) ลูกจาก 300 กรัม+ไข่ขาว 6) ลูกจาก 300 กรัม+เบนโทไนต์ 7) ลูกจาก 500 กรัม (ไม่เติมสารตกตะกอน) 8) ลูกจาก 500 กรัม+ไข่ขาว และ 9) ลูกจาก 500 กรัม+เบนโทไนต์ ผลการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่าผู้ทดสอบมีความชอบโดยรวมในไวน์ทั้ง 9 สูตรอยู่ในช่วงคะแนน 5.80 ± 1.06 ถึง7.30 ± 0.88 แสดงถึงความชอบของผู้บริโภคอยู่ในช่วงชอบถึงชอบมาก โดยสูตร 5 มีค่าการยอมรับเฉลี่ยสูงสุด คือ 7.30 ± 0.88 แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติ พบว่ามีการยอมรับที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์ กับสูตร 8 และสูตร 9 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 ± 0.91 และ 7.23 ± 0.82 ตามลำดับ
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
นพดล โพชกำเหนิด สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์ กิตติ พิมเสน เสริมศักดิ์ สัญญาโณ ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร และจำนง ฐานะพันธ์. 2555. การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นจากสำหรับงานสถาปัตยกรรม. หน้า 1005-1014. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษา ประจำปี 2555 ระหว่างวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่.
นพรัตน์ บำรุงรักษ์. 2540. การศึกษาด้านนิเวศวิทยา ประโยชน์ใช้สอย และการขยายพันธุ์ต้นจากในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช. รายงานผลการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
ประเสริฐศักดิ์ คิมประเสริฐ และวงศ์จันทร์ กิ่งทัพหลวง. 2547. การเปรียบเทียบคุณภาพของไวน์หมักโดยยีสต์ที่คัดเลือกแล้ว 5 สายพันธุ์. รายงาน การวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, นครปฐม.
มยุรี พลวัฒน์. 2544. ศึกษาผลผลิตจากต้นจากของชาวบ้านตำบลย่านซื่อ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ยุวดี ขุนภักดี วรินทร กาวี รสสุคนธ์ วุทธิกูล นพดล โพชกำเหนิด และณรงค์ สุนทรภิรักษ์. 2555. เยลลี่คาราจีแนนผสมเนื้อลูกจากเพื่อชุมชน. หน้า 1668-1674. ใน: รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายวิจัยอุดมศึกษาประจำปี 2555. วันที่ 16-18 พฤษภาคม 2555 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่.
สมบูรณ์ ประสงค์จันทร์ นพดล โพชกำเหนิด กิตติ พิมเสน เสริมศักดิ์ สัญญาโณ ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร และจำนง ฐานะพันธุ์. 2556. การใช้ประโยชน์จากต้นจากบริเวณทะลสาบสงขลา ตำบลปากรอ และตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จงหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 67-76.
Purseglove, J.W. 1985. Tropical Crops: Monocotyledon. Longman Group Ltd., London.