การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและ กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

พนิตสุภา ธรรมประมวล
กาสัก เต๊ะขันหมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลืองบ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จากผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนา ซึ่งได้แก่ 1) กรรมการบริหารกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง รวม 22 คน 2) ผู้สนับสนุน รวม 5 หน่วยงาน และ
3) ผู้บริโภค รวม 400 ราย ดำเนินการวิจัยโดยใช้ 1) การวิจัยภาคสนาม 2) การวิจัยเชิงสำรวจ และ 3) การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า


  1. กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองบ้านท่ากระยาง จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทองเหลืองให้มีเอกลักษณ์ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดกิจกรรมส่งเสริม/เชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว/แหล่งจำน่ายสินค้าที่ระลึก 2) การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการจำหน่ายสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 3) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยความเป็นเอกลักษณ์/ความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและฝีมือที่ประณีต และ 4) การลดต้นทุนและพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น

  2. กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลืองบ้านท่ากระยาง จังหวัดลพบุรี ประกอบด้วย 4
    กลยุทธ์สำคัญ คือ 1) กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ โดยผลิตผลิตภัณฑ์ตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า 2) กลยุทธ์
    ด้านราคา โดยตั้งราคาย่อมเยา ด้วยคุณภาพที่เป็นเลิศ และมีคุณค่า 3) กลยุทธ์การจัดจำหน่าย โดยจัดส่งอย่างรวดเร็ว ตรงเวลา และปลอดภัย 4) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด โดยการให้ข้อมูลข่าวสารกับตลาดเป้าหมาย และการขายโดยบุคคล โดยฝ่ายขายไปติดต่อลูกค้าถึงที่

Article Details

How to Cite
[1]
ธรรมประมวล พ. และ เต๊ะขันหมาก ก. 2018. การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและ กลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 2 (ก.ค. 2018), 41–50.
บท
บทความวิจัย

References

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. 2554. เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักวิชาการ 31(1): 32-37.

นพรัตน์ มหิพันธุ์. 2545. การศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นเมือง: กรณีศึกษาร้านเลิศไพบูลย์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,มหาสารคาม.

บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด. 2553. โครงการจัดทำข้อมูลงานศึกษาวิจัยด้านศิลปหัตถกรรมของไทย. บริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด, กรุงเทพฯ.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. 2553. แผนและกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของจังหวัดลพบุรี. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.

ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.

ศูนย์รวมผลงานชมรมช่างทองเหลืองท่ากระยาง. 2553.ชมรมช่างหล่อทองเหลือง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://m-culture.in.th ( 10 มีนาคม 2553).

อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม. 2545. สถานการณ์การผลิตการตลาดโอกาสทางการตลาดของสินค้าศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษาเครื่องจักสานจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอ่างทอง. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.