ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง จังหวัดพะเยา ในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

Main Article Content

อดิศร เรือลม
กรรณิกา พิมลศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบบริบททางการท่องเที่ยวของชุมชนเมืองชายแดนภูซาง หรือชุมชน     บ้านฮวก จังหวัดพะเยา แล้วทำการประเมินศักยภาพทางการท่องเที่ยวในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาค   ลุ่มแม่น้ำโขง เป็นงานวิจัยแบบไม่มีแผนการทดลอง โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นหลัก ได้แก่ การวิจัยเชิงเอกสาร การสำรวจ การสัมภาษณ์และการระดมสมอง จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเมืองชายแดนภูซาง 10 คน เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ 10 คน ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ 25คน ผู้เชี่ยวชาญทางการท่องเที่ยว/การบริหารจัดการ 10 คน และมีการผสมผสานกับการวิจัยเชิงปริมาณ ในส่วนที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว 112 คน โดยสรุปแล้วเมืองชายแดนภูซางเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระดับสูงโดยเฉพาะ 1) ศักยภาพทางกายภาพของตำแหน่งที่ตั้งชุมชน 2) ศักยภาพด้านทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านฮวก อำเภอภูซางในด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติ 3) ศักยภาพด้านการบริการจัดการการท่องเที่ยวและความพร้อมของประชาชนต่อการพัฒนา การท่องเที่ยว โดยชุมชนให้ความร่วมมือและมีทัศนคติเชิงบวกกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวจัดอยู่ในระดับมาก แต่อย่างไรก็ตาม ควรมีการพัฒนาด้านองค์ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเพิ่มเติมแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนเมืองชายแดน  ภูซาง และ 4) ศักยภาพทางการตลาดและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว พบว่าปัจจุบันชุมชนเมืองชายแดนภูซางเป็นจุดท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับภูชี้ฟ้า นักท่องเที่ยวนิยมมาเยือนเพื่อเข้าพักโฮมสเตย์และจับจ่ายซื้อของที่ระลึกประเภทผ้าทอ อันเป็นจุดเด่น คือ ผ้าทอเจ็ดสี และผ้าทอจากฝั่ง สปป.ลาว รวมทั้งนิยมมาสัมผัสกับตลาดนัดชายแดนไทย - สปป.ลาว และงานตักบาตรสองแผ่นดิน สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว นั้น ผู้มาเยือนส่วนใหญ่มีความสนใจในแหล่งเที่ยว/กิจกรรมและบริการทางการท่องเที่ยว การเยี่ยมชมแม่น้ำโขง ณ ฝั่งเมืองคอบ สปป.ลาว การไปเยือน เมืองไชยะบุรี การเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนในฝั่ง สปป.ลาว และการไปเยือนเมืองหลวงพระบางโดยผ่านด่านชายแดนบ้านฮวก

Article Details

How to Cite
[1]
เรือลม อ. และ พิมลศรี ก. 2018. ศักยภาพทางการท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง จังหวัดพะเยา ในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 2 (ก.ค. 2018), 7–19.
บท
บทความวิจัย

References

ประกอบศิริ ภักดีพินิจ และกรรณิกา พิมลศรี. 2554. การศึกษาศักยภาพทางการท่องเที่ยวเพื่อกำหนดแนวทาวการพัฒนาท่องเที่ยวเมืองชายแดนภูซาง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนวิจัย, กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพะเยา.2553. แผนการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา.สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพะเยา, พะเยา.

สำนักงานโยธาและผังเมืองจังหวัดพะเยา. 2555. แผนที่เส้นทางจังหวัดพะเยา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: www.dpt.go.th/provinces /phayao (5 มีนาคม 2555).

หอการค้าจังหวัดพะเยา. 2555. โครงการพัฒนาความเชื่อมโยงจังหวัดพะเยาสู่ สปป.ลาว “สวัสดีกว๊านพะเยา สบายดีหลวงพระบาง”. หอการค้าจังหวัดพะเยา, พะเยา.

Blatter, J. and N. Clement. 2000. Cross-border cooperation in Europe: Historical development, institutionalization, and contrasts with North America. Journal of Borderlands Studies 15(1): 15-53.

Hann, C. and I. Beller-Hann. 1998. Markets, morality and modernity in north–east Turkey. pp.237-262 In: T.M. Wilson and H. Donnan (eds.). Border Identitties: Nation and State at Internation Frontiers Cambridge University Press, Cambridge.

Carsten J. 1998 . Border, boundaries, tradition and state on the Malaysian periphery. pp.215-236. In: T.M. Wilson and H. Donnan (eds.). Border Identitties: Nation and State at Internation Frontiers Cambridge University Press, Cambridge.

Sullivan, P., MA. Bonn, V. Bhardwaj and A. DuPont. 2012. Mexican national cross-border shopping: Exploration of retail tourism. Journal of Retailing and Consumer Services 19(6): 596-60.