การใช้ใบขี้เหล็ก ใบจามจุรี และใบกระถิน เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับโคเนื้อ

Main Article Content

วีระพล แจ่มสวัสดิ์
วรวรรณ สังข์แก้ว
จารุวัฒน์ ชินสุวรรณ

บทคัดย่อ

การทดลองนี้ ใช้โคลูกผสมบราห์มัน สายเลือด 50 – 75 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 16 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 149 กิโลกรัม ให้ได้รับหญ้าขนสดเต็มที่และอาหารข้นมีโปรตีน 16 เปอร์เซ็นต์ เสริมวันละประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ทำการทดลอง 210 วัน โดยแบ่งโคเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ไม่เสริมพืชตระกูลถั่ว กลุ่มที่ 2 เสริมใบขี้เหล็ก กลุ่มที่ 3 เสริมใบจามจุรี กลุ่มที่ 4 เสริมใบกระถินสด ประมาณ 1% เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ปรากฏว่าอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่ม 4 มากที่สุด คือ 0.60 กิโลกรัมต่อวัน รองลงมา คือ กลุ่มที่ 3 และกลุ่มที่ 2 (0.58 และ 0.57 กิโลกรัมต่อวัน) ส่วนกลุ่มที่ 1 มีอัตราการเจริญเติบโตน้อยที่สุด คือ 0.56 กิโลกรัมต่อวัน โดยกลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่มีความแตกต่างกัน และไม่ต่างจากกลุ่ม 4 แต่กลุ่มที่ 1 แตกต่างจากกลุ่มที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญที่ P<0.05 ปริมาณการกินอาหารทั้งหมดต่อวัน กลุ่มการทดลองที่ 4 กินมากที่สุด 6.12 กิโลกรัม รองลงมา คือ กลุ่มที่ 3, 2  และ 1 (6.06, 6.04 และ 5.12 กิโลกรัม ตามลำดับ)  เมื่อคิดเป็นค่าอาหารต่อน้ำหนักตัวเพิ่ม 1 กิโลกรัม พบว่ากลุ่มที่ใช้น้อยที่สุด คือ กลุ่มที่ 1 (33.91บาท) ถัดไปเป็น กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 (35.86, 36.85 และ 37.17 บาท ตามลำดับ) โดยกลุ่มที่ 2, 3, 4  ไม่มีความแตกต่างกัน แต่สูงกว่ากลุ่มที่ 1อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ซึ่งสรุปได้ว่าการเลี้ยงโคเนื้อ โดยการเสริมพืชตระกูลถั่วท้องถิ่นสามารถเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เสริม แต่ต้นทุนจะเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย

Article Details

How to Cite
[1]
แจ่มสวัสดิ์ ว., สังข์แก้ว ว. และ ชินสุวรรณ จ. 2018. การใช้ใบขี้เหล็ก ใบจามจุรี และใบกระถิน เป็นอาหารเสริมโปรตีนสำหรับโคเนื้อ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 3 (ก.ค. 2018), 243–249.
บท
บทความวิจัย

References

ฉายแสง ไผ่แก้ว ศศิธร ถิ่นนคร กานดา นาคมณี และศรัณยา วรจิรวาณิช. 2548. การทดสอบและคัดเลือกพันธุ์กระถินเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ รายงานผลการวิจัยกองอาหารสัตว์ประจำปี พ.ศ. 2548. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ. 402 หน้า.

ธำรงศักดิ์ พลบำรุง. 2552. พืชหลายชนิดใช้เลี้ยงสัตว์ได้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.dld. go.th/nutrition/Research_Knowlage/nutservice/Issue%201.html ( 30 มีนาคม 2555 ).

ยะโก๊ะ ขาเร็มดาเบะ. 2526. การเลี้ยงแพะพื้นเมืองด้วยพืชสมุนไพรขี้เหล็กและวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตรตามวิถีมุสลิม ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(1): 115 – 123.

วรรณะ ม้าเชี่ยว. 2540. การใช้ใบจามจุรีเป็นอาหารโคนม รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 14 สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปางลำปาง. 327 หน้า.

วิทย์ เที่ยงปรณธรรม. 2531. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. โรงพิมพ์นิยมวิทยา, กรุงเทพฯ. 428 หน้า.

วีระพล แจ่มสวัสดิ์. 2553. การใช้ใบกระถินสดและต้น ถั่วลิสงแห้งอัดฟ่อนเป็นอาหารเสริมโปรตีนเลี้ยงโคนมเพศผู้ตอน. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. 3(1): 31 – 37.

Gomez, A.K. and A.A. Gomez. 1984. Statistical Producers for Agricultural Research.2nd ed. John Wiley and sons. New York.