การพัฒนาตู้อบแห้งและการรมควันกำมะถันผักตบชวาสำหรับ ชุมชนบ้านสาง ตำบลบ้านสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับตู้อบแห้งและรมควันกำมะถันผักตบชวา สำหรับชุมชนบ้านสาง ต.บ้านสาง อ.เมือง จ.พะเยา โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ การลดเวลาในการอบแห้งและรมควันกำมะถันผักตบชวาของชาวบ้านชุมชนบ้านสาง โดยผักตบชวาที่อบได้จากเครื่องจะต้องมีคุณลักษณะตรงตามที่ใช้งาน ระบบควบคุมเป็นระบบอัตโนมัติ จะสามารถอบให้ผักตบชวาแห้งและรมควันกำมะถันตามที่ชุมชนต้องการ โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และไมโครคอนโทรลเลอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่อง ทำให้ควบคุมอุณหภูมิในการอบให้คงที่ได้ และควบคุมเวลาได้ จากผลการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการอบแห้งและรมควันกำมะถัน คือ การอบแห้งที่อุณหภูมิในช่วง 70-80 oC เวลา 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปรมควันกำมะถันที่อุณหภูมิ 70 oC เวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งผักตบชวาที่ได้มีลักษณะแห้ง และมีสีขาวเหมือนที่อบโดยวิธีของชาวบ้านชุมชนบ้านสาง และน้ำหนักแห้งของผักตบชวาที่ได้อยู่ที่ 106.67 กรัม ซึ่งใกล้เคียงกับผักตบชวาที่อบโดยวิธีของชาวบ้านชุมชนบ้านสาง จากผลการเปรียบเทียบเวลาพบว่าเครื่องอบแห้งและรมควันกำมะถันสามารถลดเวลาลงได้เหลือเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อเทียบกับวิธีการตากแห้งและรมควันกำมะถันของชาวบ้านชุมชนบ้านสางซึ่งอยู่ที่ประมาณ 5 วัน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ชูชัย ธนสารตั้งเจริญ. 2522. อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน. ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 229 หน้า.
ดอนสัน ปงผาบ. 2549. ไมโครคอนโทรลเลอร์และการประยุกต์ใช้งาน 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ. 245 หน้า.
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองผักตบชวา. 2552. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http: //clgc.rdi.ku.ac.th/index/w-variety/374-eichornia (12 เมษายน 2553).
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ. 2555. ซัลเฟอร์ (กำมะถัน) สารเคมีที่ควรรู้จัก. สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://dpm.nida.ac.th/main/index.php/ articles/chemical-hazards/item/70 (12 เมษายน 2553).