การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนเพื่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชน 3 ทุน คือ ทุนธรรมชาติ ทุนเงินตรา และทุนสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนระบบการตัดสินใจเลือกแหล่งการจัดการความรู้ของของชุมชนโดยใช้ภูมิสารสนเทศ ซึ่งในการศึกษาแต่ละทุนจะศึกษาในด้านกระบวนการจัดการความรู้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ และผลของการการจัดการความรู้ การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลภาคสนามจากชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งประกอบด้วย ทุนธรรมชาติ 11 กลุ่มชุมชน ทุนเงินตรา 6 กลุ่มชุมชน ทุนสังคมและวัฒนธรรม 6 กลุ่มชุมชน และใช้เครื่องมือกำหนดตำแหน่งพิกัดชุมชนร่วมกับเทคโนโลยีแผนที่กูเกิ้ลทางอินเตอร์เน็ตบนเว็บไซต์ ผลการศึกษาการจัดการความรู้บนฐานทุนธรรมชาติ พบว่าเป็นกลุ่มที่จัดการความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในรูปของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการของกิจกรรมต่าง ๆ มีผู้นำเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ มีกิจกรรมการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่น ๆ ทั้งแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อนำมาขยายผลในพื้นที่ ทุนชุมชนเงินตรา เป็นกลุ่มที่จัดการความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน โดยชุมชนมีกระบวนการจัดการความรู้ผ่านการใช้เวทีประชุมคณะกรรมการกลุ่ม และการประชุมสมาชิกของกลุ่มประจำเดือน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ คือ มีคณะทำงานที่มีคุณลักษณะที่เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ส่งผลให้ชุมชนมีกองทุนเป็นของตนเอง ไม่ต้องรองบประมาณจากรัฐบาล และมีการปันผลกำไรเพื่อนำเงินมาพัฒนาชุมชน ส่วนการจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนสังคมและวัฒนธรรม เป็นกลุ่มที่จัดการความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นการนำภูมิปัญญาที่ได้สั่งสมบ่มเพาะตกทอดมาจากบรรพบุรุษมาสู่ลูกหลานในรูปของวิธีการแก้ปัญหา วิธีการดำเนินชีวิต โดยผู้นำมีบทบาทสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการความรู้ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกและของชุมชนได้อย่างยั่งยืน และผลการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจเลือกแหล่งชุมชนจากฐานข้อมูลสำหรับการถ่ายทอดการจัดการความรู้ของชุมชน โดยใช้ภูมิสารสนเทศมีเว็บไซต์ชื่อว่า “www.songkhlatourismkm.com”
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.
นโกสินทร์ สุริยะฉาย. 2553. การพัฒนาระบบแผนที่อาชญากรรม กรณีศึกษา การโจรกรรมรถในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
บุญดี บุญญากิจ. 2547. การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
บรรจง นะแส. 2534. การพัฒนาภาคใต้ตามแนววัฒนธรรมชุมชน. หน้า 61 - 74. ใน: พรศักดิ์ พรหมแก้ว. พื้นบ้านพื้นเมือง ถิ่นไทย.
ประมาณ เทพสงเคราะห์. 2552. การสร้างฐานข้อมูลโดยใช้ภูมิสารสนเทศและระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่มีต่อการวางแผนท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 5 จังหวัดภาคใต้: สงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล ตรัง. มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
พรศักดิ์ พรหมแก้ว. 2555. วิถีคิดของชุมชนชาวนาบริเวณรอบทะเลสาบสงขลา. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏี บัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
วิจารณ์ พานิช. 2546. การจัดการความรู้ในยุคสังคมและเศรษฐกิจบนฐานความรู้. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.), กรุงเทพฯ.
สารสนเทศทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. 2553. สถาบันวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะการจัดการสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
อาแว มะแส กังวาลย์ จันทรโชติ และไพโรจน์ สิริมนตาภรณ์. 2548. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เล่มที่ 4 ทรัพยากรป่า ประมง การใช้ที่ดิน พลังงาน. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. นีโอ พ้อยท์, สงขลา.