การจัดการความรู้เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ปัญหา ความคิดเห็น เพื่อศึกษาองค์ความรู้ของผ้าจกราชบุรี และเพื่อหาแนวทางการสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรีเพื่อก่อให้เกิดการบริหารจัดการเชิงรุก โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับกระบวนการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้บริโภค ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการณ์ ปัญหา และความคิดเห็นต่อผ้าจกราชบุรี เป็นดังนี้
1.1 กลุ่มผู้ผลิต สภาพการณ์การผลิตผ้าจกปัจจุบันเปลี่ยนไปจากลักษณะของกลุ่มทอผ้าและศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านเป็น 3 ลักษณะ คือ แหล่งผลิตที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลิตและจำหน่ายทั่วไป แหล่งผลิตที่แยกตัวกันผลิตและจำหน่ายทั่วไป และแหล่งผลิตที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มผลิตและจำหน่ายตามคำสั่งของลูกค้า ลักษณะการผลิตใช้วิธีการแบบดั้งเดิม วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นใยสังเคราะห์ มีการประยุกต์ลวดลายและสีสันขึ้นใหม่ตามความต้องการของผู้บริโภค และมีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ปัญหาการผลิต ได้แก่ วัสดุมีราคาแพง ขาดคนทอผ้า วัสดุไม่ได้คุณภาพ ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ ใช้ระยะเวลานานในการทอผ้า เป็นต้น และความคิดเห็นต่อผ้าจกราชบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ตามลำดับ
1.2 กลุ่มผู้สนับสนุน สภาพการณ์สนับสนุนโดยทั่วไป มีการสนับสนุนโดยต่อเนื่องเพื่อให้ผ้าจกเป็นที่รู้จักแพร่หลาย และส่งเสริมให้เป็นสินค้าโอท็อปของจังหวัดราชบุรี โดยผ่านกิจกรรมด้านสังคม วัฒนธรรม ประเพณี กิจกรรมสร้างจิตสำนึกร่วมกันในชุมชนในโอกาสสำคัญ กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการจำหน่าย ปัญหาที่กลุ่มผู้สนับสนุนตระหนัก ได้แก่ ขาดคนทอผ้า ขนาดและรูปแบบไม่มาตรฐาน การรับรู้และประชาสัมพันธ์ ขาดการรวมกลุ่มเป็นเครือข่าย พฤติกรรมการบริโภคเครื่องแต่งกายสำเร็จรูป และนโยบายการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ชัดเจน และความคิดเห็นต่อผ้าจกราชบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ตามลำดับ
1.3 กลุ่มผู้บริโภค สภาพการณ์โดยรวมผ้าจกราชบุรียังคงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงาน ด้วยความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีลวดลายที่สวยงาม และคุณค่าทางจิตใจ แม้จะมีราคาแพงแต่มีแนวโน้มในการบริโภคซ้ำอีก นิยมนำไปตัดเป็นเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ส่วนใหญ่ซื้อผ้าจากแหล่งผลิตด้วยตนเอง ความถี่ 7-12 เดือนต่อครั้ง จำนวนซื้อครั้งละ 2-3 ผืน มูลค่าการซื้อตั้งแต่ 1,001-3,000 บาท มีการเปรียบเทียบราคาจากแหล่งผลิต การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผ้าจกโดยวิธีบอกต่อ ปัญหาการบริโภคผ้าจก ได้แก่ คุณภาพของผ้าจก ขนาดและรูปแบบไม่มาตรฐาน จำนวนและปริมาณการผลิต ลวดลายที่ไม่หลากหลายแปลกใหม่ การรับรู้และประชาสัมพันธ์ในคุณค่าผ้าจก มีราคาแพง และความคิดเห็นต่อผ้าจกราชบุรีโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ตามลำดับ
- 2. องค์ความรู้ผ้าจกราชบุรีที่ได้จากการศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นมา ภูมิปัญญา ลวดลาย วิธีการทอผ้าจก แหล่งทอผ้าจกราชบุรี ช่างฝีมือทอผ้าจกราชบุรี ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคผ้าจก แนวทางการสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรีเพื่อก่อให้เกิดการบริหารจัดการเชิงรุก ประกอบด้วย การให้ความร่วมมือกันทุกฝ่าย ทำการค้าขายอย่างเกื้อหนุน ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้เป็นทุน สร้างกระแสชุมชนคนอนุรักษ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สร้างสรรค์จุดขายและจุดเด่น มุ่งเน้นการเรียนรู้สู่คนรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้มีการใช้ และจัดกิจกรรมให้แพร่หลายและต่อเนื่อง
- แนวทางการสร้างสรรค์คุณค่าผ้าจกราชบุรีเพื่อก่อให้เกิดการบริหารจัดการเชิงรุก ประกอบด้วย การให้ความร่วมมือกันทุกฝ่าย ทำการค้าขายอย่างเกื้อหนุน ส่งเสริมการประกอบอาชีพให้เป็นทุน สร้างกระแสชุมชนคนอนุรักษ์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย สร้างสรรค์จุดขายและจุดเด่น มุ่งเน้นการเรียนรู้สู่คนรุ่นใหม่ ส่งเสริมให้มีการใช้ และจัดกิจกรรมให้แพร่หลายและต่อเนื่อง
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ดำเนิน การเด่น และเสถียรพงษ์ วรรณปก. 2544. พจนานุกรมไทยอังกฤษ. อัมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์, กรุงเทพฯ. 725 หน้า.
ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. 2552. สร้างเรื่องราว...สร้างคุณค่าแห่งผลิตภัณฑ์. ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์. 15(21): D4.
บุญดี บุญญากิจ. 2547. การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. จิรวัฒน์เอ็กเพรส, กรุงเทพฯ. 107 หน้า.
พนิตสุภา ธรรมประมวล และกาสัก เต๊ะขันหมาก. 2556. การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(2): 41-50.
ราชบัณฑิตยสถาน. 2546. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์, กรุงเทพฯ. 1,488 หน้า.
วิจารณ์ พานิช. 2552. การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่. ข้าวฟ่าง, กรุงเทพฯ. 78 หน้า.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2548. โมเดลเอสเอ็มอี สร้าง Value Creation อย่างง่าย ๆ. จดหมายข่าว แผนฯ 10. 3(8): 11-15.
อรวรรณ นิลเพชร์พลอย. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผ้าจกของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. 112 หน้า.
อุดม สมพร. 2540. ผ้าจกไท-ยวนราชบุรี. ภาพพิมพ์, กรุงเทพฯ. 178 หน้า.
อุดม สมพร. 2554. สถานการณ์ผ้าจกไท-ยวนในปัจจุบัน. สัมภาษณ์ 26 มีนาคม 2554.