การพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วุฒิพงษ์ ฉั่วตระกูล
พิญญ์ ตนานนท์
กอบกาญจน์ พจน์ชนะชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง กลยุทธ์การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ  บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ทางการตลาด การสำรวจช่องทางการตลาดที่เหมาะสมกับตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ และเพื่อค้นหากลยุทธ์การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบแผนวิจัยเชิงสำรวจที่มุ่งเน้นการศึกษาร่วมกันระหว่างคณะผู้วิจัย ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อบ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มแบ่งส่วนตลาดโดยใช้แนวคิดตลาดมวลรวม ตำแหน่งทางการตลาดที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ถูกกำหนดโดยปัจจัยด้านระดับราคาและคุณภาพ และเลือกใช้ช่องทางการตลาดแบบภายนอกสู่ภายใน (outside in) ในส่วนของการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดกลุ่มควรใช้ “กลยุทธ์เชิงรุก” แบ่งเป็นกลยุทธ์ทางด้านผลิตภัณฑ์ เพิ่มการจัดทำตราสินค้าและปรับปรุงป้ายกำกับสินค้าใหม่ กลยุทธ์ทางด้านราคา ใช้การตั้งราคาโดยมุ่งคุณค่าการรับรู้กลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบศูนย์ระดับและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายประเภท 1 ระดับ รวมทั้งใช้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการผ่านช่องทางการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อบ้านลวงใต้เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้ซื้อ สามารถพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
[1]
ฉั่วตระกูล ว., ตนานนท์ พ. และ พจน์ชนะชัย ก. 2018. การพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ บ้านลวงใต้ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 3 (ก.ค. 2018), 171–182.
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ คำใจ. 2550. การวิจัยและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่สู่ความยั่งยืน. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. 2525. พ่อค้าวัวต่าง :ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ.2398-2503). วิทยาลัยครูเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ณริสสร ธีรทีป. 2543. ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทลื้อ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2546-2540: ศึกษาผ่านลักษณะและเครือข่ายสัมพันธ์ของผู้นำที่เป็นทางการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เบญจา บุญสุภาพ. 2545. แนวทางการพัฒนาการตลาดสินค้าที่ระลึกที่ผลิตจากผ้าพื้นเมืองในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. 2556. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติ โดยการใช้สารช่วยย้อมจาก นํ้าพุร้อนแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1 (1): 9-22.

พนิตสุภา ธรรมประมวล. 2556. การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างหล่อทองเหลืองและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1 (2): 41-50.

พรรณนุช ชัยปินชนะ. 2549. การศึกษากลยุทธ์การตลาดและปัญหาทางการตลาดของกลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่.

รัตนาพร เศรษฐกุล. 2525. ประวัติชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. โครงการสืบสานภูมิปัญญาด้วยการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น (ไทลื้อ). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), กรุงเทพฯ.

วิไลลักษณ์ กิติบุตร. 2550. การพัฒนาสินค้าชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ดสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP). รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศิริพรรณ ปัญญาคม. 2545. ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชาวเขาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. 2548. การศึกษาการดำเนินงานของกลุ่มผ้าทอฝ้ายบ้านไร่ไผ่งาม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ, เชียงใหม่.