การวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตตุ๊กตา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ญาตาวีมินทร์ พืชทองหลาง
นุกูล พิกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตตุ๊กตา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเน้นการวิเคราะห์ศักยภาพของผลิตภัณฑ์ การมีส่วนร่วมของชุมชน และการวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตรายย่อย พนักงานปฏิบัติการและผู้ซื้อสินค้า ร่วมกับวิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมของการปฏิบัติงานจริงในการผลิตและจำหน่ายตุ๊กตา


กลยุทธ์การตลาดของกลุ่มธุรกิจชุมชนผู้ผลิตตุ๊กตาที่เหมาะสม มี 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ เน้นเอกลักลักษณ์ของความเป็นไทย ใช้วิธีผลิตแบบโบราณ และใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สุด 2) กลยุทธ์ราคา เน้นการลดราคาตามปริมาณการสั่งซื้อ 3) กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นการจัดจำหน่ายโดยตรง โดยการเปิดเว็บไซต์ และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ตุ๊กตา 4) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด เน้นการให้ความรู้ การฝึกฝนพิเศษกับพนักงานใหม่ และเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับการทำตุ๊กตาทุกชนิดเพื่อให้เห็นคุณค่า ความประณีตและความละเอียดอ่อนในการผลิต

Article Details

How to Cite
[1]
พืชทองหลาง ญ. และ พิกุล น. 2018. การวางแผนกลยุทธ์การตลาดแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนของกลุ่มผู้ผลิตตุ๊กตา อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1, 3 (ก.ค. 2018), 141–151.
บท
บทความวิจัย

References

เกษม พิพัฒน์เสรีธรรม. 2547. OTOP นักสู้ชาวบ้าน นักการตลาดชุมชน. เอ.อาร์.บิซิเนส, กรุงเทพฯ.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. 2548. แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ข้อเสนอทางทฤษฎีในบริบทต่างสังคม. สถาบันวิถีทรรศน์. กรุงเทพฯ.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

สมศรี จินะวงษ์. 2544. การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ในชุมชน ที่ใช้แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อรศรี งามวิทยาพงศ์. 2549. กระบวนการเรียนรู้ในสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลง: จากยุคชุมชนถึงยุคพัฒนาความทันสมัย. วิทยาลัยการจัดการทางสังคม, กรุงเทพฯ.