บทบาทของกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช กับการอนุรักษ์พันธุ์พืชในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชมีมายาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2407 ภายหลังจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาอันเกี่ยวกับการค้า (Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPs): ซึ่งกำหนดให้ประเทศที่เป็นภาคี WTO ต้องออกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชในลักษณะที่เป็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญประการหนึ่งที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ขึ้น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีสาระสำคัญประกอบด้วย 8 หมวด 69 มาตรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์พืชและพัฒนาพันธุ์พืชให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมโดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า
บทบาทของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืช โดยจัดตั้งกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ตามมาตรา 54 โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์พืชและพัฒนาพันธุ์พืชให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมโดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ปรารภ สิริสาลี. 2554. การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์ในทรัพยากรพันธุกรรมพืช: แนวทางทางกฎหมายสำหรับประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ. 204 หน้า.
วิชา ธิติประเสริฐ และ จิระศักดิ์ กีรติคุณากร. 2546. ระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชในประเทศไทย. วารสารวิชาการเกษตร 21(2): 170-182.
สุรไกร สังฆสุบรรณ์. 2550. การคุ้มครองพันธุ์พืชตามกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช. หน้า 9-16. ใน: กลยุทธ์ทั่วโลกสำหรับการอนุรักษ์พืช: การติดตามความ ก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชอย่างยั่งยืน. สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรุงเทพฯ.
สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร. 2542. พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542. ฟันนี่พับลิชชิ่ง, กรุงเทพฯ. 30 หน้า.
สำนักนายกรัฐมนตรี. 2546. ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชว่าด้วยการบริหารกองทุนและควบคุมการใช้จ่ายเงินกองทุน. ราชกิจจานุเบกษา 120 (ตอนพิเศษ ๑๑๔ ง): 148-154.
ITPGRFA Secretariat. 2011. Introduction to the International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agriculture Module 1. ITPGRFA Secretariat, FAO, Rome, Italy, 155 p.