อิฐบล็อกประสานที่มีส่วนผสมเถ้าและกะลาปาล์มน้ำมัน

Main Article Content

จรูญ เจริญเนตรกุล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเถ้าปาล์มน้ำมันมาแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน และนำกะลาปาล์มน้ำมันมาแทนที่ดินลูกรังบางส่วน เพื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าและกะลาปาล์ม และเปรียบเทียบคุณสมบัติกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 602/2547 การแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยเถ้าปาล์มและแทนที่ดินลูกรังด้วยกะลาปาล์ม ในอัตราส่วนร้อยละ 5-5, 10-10, 15-15, 20-20, 25-25, 30-30, 35-35 และ 40-40 โดยน้ำหนัก มวลรวมที่ใช้ในการผลิต คือ ดินลูกรัง ปูนซีเมนต์ ทราย เถ้าปาล์ม และกะลาปาล์ม บ่มในอากาศ 28 วัน นำมาทดสอบการดูดกลืนน้ำ และทดสอบการรับแรงอัด จากผลการศึกษาพบว่า การเพิ่มปริมาณของเถ้าปาล์มและกะลาปาล์มจะทำให้อิฐบล็อกประสานมีอัตราการดูดกลืนน้ำเพิ่มขึ้น และพบว่าอิฐบล็อกประสานที่ผสมเถ้าปาล์มและกะลาปาล์ม ในอัตราส่วนผสมร้อยละที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความสามารถในการรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานลดลง และเมื่อนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 602/2547 พบว่าค่าการรับแรงอัดของอิฐบล็อกประสานผสมเถ้าปาล์มและกะลาปาล์ม ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 602/2547 ชนิดไม่รับน้ำหนัก

Article Details

How to Cite
[1]
เจริญเนตรกุล จ. 2018. อิฐบล็อกประสานที่มีส่วนผสมเถ้าและกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 1 (ก.ค. 2018), 103–112.
บท
บทความวิจัย

References

ชัย สุจิรวกุล และพินัยศักดิ์ พรหมศร. 2553. บล็อกซีเมนต์ประสานที่ใช้เถ้าแกลบดำ เถ้าแกลบขาว หรือเถ้าชานอ้อย เป็นส่วนผสม. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ครั้งที่ 6. สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน. 20-22 ตุลาคม 2553, เพชรบุรี.

นันทชัย ชูศิลป์. 2556. หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 97-105.

วีรชาติ ตั้งจิรภัทร ชัย จาตุรพิทักษ์กุล และไกรวุฒิ เกียรติโกมล. 2547. การศึกษากำลังอัดและการขยายตัวของมอร์ต้าร์ที่ผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา 15(3): 32-39.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.moac. go.th (15 กันยายน 2555).

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนอิฐบล็อกประสาน. มผช.602/2547. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.

Hussin, M.W. and A.S.M.A. Awal. 1996. Palm oil fuel ash - A potential pozzolanic material in concrete construction. pp. D361-D366. Proceedings of the International Conference on Urban Engineering in Asian Cities in the 21st Century. 20-23 November 1996, Bangkok, Thailand.