การพัฒนาการจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดแบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

Main Article Content

กนกวรรณ เวชกามา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อการพัฒนาการจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดแบบการมีส่วนร่วม บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานและการบริหารจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ในการบริหารจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีด บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง 3) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มโดยชุมชนมีส่วนร่วมและ 4) การนำไปสู่การปฏิบัติ การปฏิบัติการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มอาชีพ (กลุ่มจิ้งหรีด) บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง จำนวน 26 คน ได้มาจากกลุ่มประชากร 30 ครัวเรือน วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จากแบบสอบถามหลัก 2 ชุด คือ แบบสอบถามบริบทของชุมชน และสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการที่ดีของสมาชิก และเพิ่มเติมจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะคา เทศบาลตำบลเกาะคาแม่ยาว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย คือ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์ผู้รู้เชิงลึก การสังเกต การศึกษารายกรณี เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่มอาชีพกับทีมวิจัยผลการวิจัยได้ค้นพบโครงสร้างการจัดการที่เป็นผลจากการพัฒนาการจัดการกลุ่มอาชีพแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบการบริหารจัดการที่ประกอบด้วย การวางเป้าหมาย จัดตั้งกลุ่ม เลือกผู้นำ จัดองค์กร ควบคุมโดยกฎกติกากลุ่ม การวางแผน  และการนำไปปฏิบัติ  หรือ SGLOCPI  และค้นพบปัจจัยที่จะส่งผลให้ประสบผลสำเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ คือ การวิเคราะห์คู่แข่งการสร้างจุดแข็งการบริหารงานการผสานสร้างพันธมิตรทางการค้าการเสาะหาโอกาสทางการตลาดการปฏิบัติและทบทวนแผนซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ในโดยรูปแบบการวิเคราะห์ SWOT โดยแบบสัมภาษณ์ และ เวทีชาวบ้าน ซึ่งการพัฒนาการจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดได้มีความก้าวหน้าจากการไม่มีกลุ่ม จนกระทั่งจัดตั้งร้านค้าเพื่อจำหน่ายวัตถุดิบในการเลี้ยงจิ้งหรีดให้กับกลุ่มสมาชิกและผู้ไม่ใช่สมาชิกกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านหนองหล่ายในรูปแบบกลุ่มอาชีพภายใต้คำจำกัดความของสหกรณ์ ภายใต้การบริหารแบบใช้โครงสร้าง SGLOCPI

Article Details

How to Cite
[1]
เวชกามา ก. 2018. การพัฒนาการจัดการกลุ่มเลี้ยงจิ้งหรีดแบบการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม บ้านหนองหล่าย ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 1 (ก.ค. 2018), 89–96.
บท
บทความวิจัย

References

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. 2552. รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพเกษตรผักปลอดสารพิษบ้านจำ หมู่ที่ 6 ตำบล ปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, ลำปาง.

ประทีป พืชทองหลาง และอภิริยา นามวงศ์พรหม. 2556. รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มผู้ผลิตโคมล้านนา ชุมชนเมืองสาตร อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 129-139.

พนารัตน์ บุญธรรม. 2552. รูปแบบการจัดการสินค้า OTOP ประเภทของใช้ของแตกแต่ง และของที่ระลึกในเชิงธุรกิจศึกษา กลุ่มอาชีพทำเครื่องทองเหลือง บ้านปะอาว หมู่ที่ 5 ตำบลปะอาว อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

พรรณี ประเสริฐวงศ์ และวีรนาถ มานะกิจ. 2533. การจัดการองค์การและการบริหาร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2541. กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. Diamond in Business World, กรุงเทพฯ.