การพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเครื่องประดับ กรณีศึกษา: กลุ่มผู้ผลิตเครื่องประดับจากดินปั้น อำเภอเมือง จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหากระบวนการผลิตเครื่องประดับจากดินปั้น 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต 3) ประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เครื่องมือที่ใช้ คือ การสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพเครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบ แบบประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของเครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบ แบบประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สนใจในกลุ่มอาชีพเครื่องประดับจากดินปั้น สถิติที่ใช้ คือ ค่าเปอร์เซ็นต์ การทดสอบค่า t-test ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาของกระบวนการผลิต คือ เครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบ มีกำลังการผลิตน้อย จำนวนการผลิตไม่เพียงพอ ความเหมาะสมของเครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบ พบว่าอยู่ในระดับมาก ประสิทธิภาพในการผลิตของเครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบ เมื่อนำไปใช้กับชิ้นงาน พบว่าค่าความชื้นหายไปเฉลี่ย 8.60 เปอร์เซ็นต์ ประสิทธิภาพก่อนและหลังการผลิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความพึงพอใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากดินปั้น อยู่ในระดับดี (= 4.04 ± 0.67)
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ฐิติมา ไชยะกุล. 2548. หลักการจัดการผลิต. เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า, กรุงเทพฯ. 266 หน้า.
นันทพงศ์ สงวร. 2550. กระบวนการผลิตและการจัดจำหน่ายดอกไม้ประดิษฐ์ดินไทยและดินญี่ปุ่น. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ. 84 หน้า.
ปวีณา บุญปาน. 2552. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ดอกไม้ดินไทยและดินญี่ปุ่นเพื่อสร้างรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กลุ่มดอกไม้ประดิษฐ์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.fa.rmutt. ac.th/wp-content/uploads/2011/07/ (19 กุมภาพันธ์ 2557).
วสันต์ สุขทับ สิริพงศ์ ราโช และถวิล เดชบัญชา. 2555. การสร้างและพัฒนาเครื่องช่วยขึ้นรูปผิวมนเรียบของสินค้าหัตถกรรมเครื่องประดับจากชุมชนระแหง จังหวัดตาก. ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก, ตาก. 66 หน้า.
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.
สนธยา พลศรี. 2556. การพัฒนาความสามารถของบุคคลและกลุ่ม. พิมพ์ครั้งที่ 2. โอเดียนโตร์, กรุงเทพฯ. 283 หน้า.
สมพล ทุ่งหว้า. 2547. การผลิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. 427 หน้า.