การพัฒนาศักยภาพโดยใช้เทคนิคบัญชีบริหารเพื่อเพิ่มรายได้ ของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านโป่งอาง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

บุษบา อารีย์
ประเวทน์ แสนยอง
อุดม อมยิ้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1)  เพื่อศึกษาสภาพชุมชน ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์  2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์  โดยใช้เทคนิคบัญชีบริหารเพื่อเพิ่มรายได้ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรโดยใช้เทคนิคบัญชีบริหารเพื่อเพิ่มรายได้ของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ย อินทรีย์ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่  เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล จากการสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม จัดประชุมและอบรมให้ความรู้วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อเก็บข้อมูลด้านรายรับ-รายจ่าย ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาและอุปสรรคเรื่อง ต้นทุนการผลิตสูง จุดแข็ง คือ มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร จุดอ่อน คือ วัตถุดิบหลักใช้ต้นข้าวโพดซึ่งมีราคาสูง ขาดการผลิตอย่างต่อเนื่องและไม่ได้มาตรฐาน บรรจุภัณฑ์ไม่ดึงดูดใจลูกค้า โอกาส คือ ลูกค้ามีความต้องการผลิตภัณฑ์ อุปสรรค คือ ขาดเงินทุนหมุนเวียน ส่วนการใช้เทคนิคบัญชีบริหารโดยวิธีการวัดผลเชิงดุลยภาพ (BSC) พบว่า 1) มุมมองด้านการเงิน คือ ไม่มีความมั่นคงด้านการเงิน ไม่มีเงินทุนสำรองและไม่มีการทำรายงานการเงินประจำปีเผยแพร่ 2) มุมมองด้านลูกค้า ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจมากที่สุด 3) มุมมองด้านกระบวนการภายใน มีระบบการทำงานที่ทันเวลา การประเมินและปรับปรุงทัศนคติของสมาชิกและคณะกรรมการ 4) มุมมองด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต สมาชิกร่วมมือในการทำงานด้วยความเต็มใจ การได้รับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้สมาชิกทำงานอย่างมีคุณภาพ มีความสำเร็จและพัฒนาศักยภาพ

Article Details

How to Cite
[1]
อารีย์ บ., แสนยอง ป. และ อมยิ้ม อ. 2018. การพัฒนาศักยภาพโดยใช้เทคนิคบัญชีบริหารเพื่อเพิ่มรายได้ ของวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ บ้านโป่งอาง ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 1 (ก.ค. 2018), 49–61.
บท
บทความวิจัย

References

กิตติ เขียวทอง. 2552. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ การบัญชีแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนด้วยการจัดการความรู้ ในการผลิต ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและน้ำมันงาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านปางหมูและบ้านสบสอย ตำบลปางหมู อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน, แม่ฮ่องสอน.

ดวงมณี โกมารทัต และวชิระ บุณยเนตร. 2551. Diversification of management accounting practices in the Thai Listed companies. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ 30: 116-134.

บุญชม ศรีสะอาด. 2549. การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น, กรุงเทพฯ.
พุทธมน สุวรรณอาสน์. 2556. การพัฒนาศักยภาพด้านบัญชีการเงินของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 43-52.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์ และธีรยุส วัฒนาศุภโชค. 2545. ระบบการบริหารต้นทุนกิจกรรมและระบบการวัดผลดุลยภาพ. ธรรมนิติ เพรส, กรุงเทพฯ.

ศุภโชติก์ แก้วทอง และสมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. 2552. การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. เอกสารการประชุมเสนอผลงานวิจัยสหสาขา ม.อ. วิชาการ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,สงขลา.

สุจิตรา ตุลยาเดชานนท์. 2552. การบัญชีบริหารเพื่อการตัดสินใจประยุกต์ตามปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. บริษัทพับลิคโฟโต้และโฆษณา จำกัด, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2555. วารสารเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. oae.go.th/down load/journal/agri_eco55/agu-nov55.pdf (1 พฤศจิกายน 2555).