การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ รายรับรายจ่ายผ่านระบบบันทึกบัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยสู่ความสำเร็จ และพัฒนากระบวนการจัดทำบัญชีครัวเรือนภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ประชากรที่ศึกษาวิจัย คือ ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลหนองป่าครั่ง ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งสิ้น 25 ครัวเรือน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อยและการลงมือปฏิบัติตามหลักวงจร P-D-C-A ผลการวิจัยสรุปว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้ประจำจากอาชีพหลัก ไม่มีรายได้เสริมของครัวเรือน และมีภาวะหนี้สินครัวเรือน ปัญหาอุปสรรคของกระบวนการบันทึกบัญชีครัวเรือนคือไม่มีความสม่ำเสมอ และขาดแรงจูงใจในการจดบันทึก ไม่มีความเข้าใจในการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนอย่างถูกต้อง โดยปัจจัยสู่ความสำเร็จของกระบวนการบันทึกบัญชีครัวเรือน คือ การส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างแรงจูงใจ และการออกแบบสมุดบันทึกบัญชีครัวเรือนที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ไท้ทอง สิงห์รา. 2551. อบรมนักเรียนทำบัญชีครัวเรือนโรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวระเหว. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.thai_school.net/view_acti vities.php? ID=42103 (23 มิถุนายน 2552).
นภาพร ลิขิตวงศ์ขจร. 2550. บัญชีครัวเรือน: เครื่องมือสู่เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 15(3): 25-29.
ประทีป พืชทองหลาง และอภิริยา นามวงศ์พรหม. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่เศรษฐกิจยั่งยืน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 1-6.
ปราณี เนรมิตร. 2550. การศึกษาอิทธิพลของสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการทำบัญชีครัวเรือนเกษตรกรในเขตอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tdc.thailis.or.th (12 พฤษภาคม 2554).
มยุรี กิมง่วนสง. 2551. ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tdc.thailis.or.th (22 พฤษภาคม 2554).
รพีพร คำชุ่ม. 2550. ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีครัวเรือน: กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดน่าน. การค้นคว้าแบบอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศุภโชติก์ แก้วทอง และ สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล. 2552. การประเมินผลการจดบันทึกบัญชีครัวเรือนเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรในเขตตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.grad.psu.ac.th/th/news_research/research_proceedings2009.php?list=21 (12 พฤษภาคม 2554).
สุคนธ์ เหลืองอิงคะสุต. 2551. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริกับการบันทึกบัญชีครัวเรือนของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tdc.thailis.or.th (22 พฤษภาคม 2554).
สุพรรณี ต้อนรับ. 2551. การทำบัญชีครัวเรือนของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://tdc.thailis.or.th (22 พฤษภาคม 2554).
สุเมธ ตันติเวชกุล. 2551. เศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศึกษาศาสตร์ 19(3): 1-6.
อภิชัย พันธเสน. 2554. เศรษฐกิจพอเพียง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://th.wikipedia.org/ (12 พฤษภาคม 2554).