ตัวแบบการจัดการการพัฒนาเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกรที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิ และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและใช้ครอบครัวเป็นหน่วยศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด ผลการศึกษาพบว่า ในอดีตกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยและทำการเกษตรเชิงเดี่ยวและหลังจากทำการเกษตรแล้วมีหนี้สินจำนวนมาก บางครอบครัวจึงหันไปประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปในต่างจังหวัดและต่อมาครอบครัวเกษตรกรตัวอย่างมีโอกาสได้เข้าร่วมอบรมด้านการเกษตรร่วมกับเครือข่ายปราชญ์เกษตรชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมแนวคิดและแนวปฏิบัติจากปราชญ์เกษตรชาวบ้าน ซึ่งเข้าใจง่าย มองเห็นผลได้จริง ประกอบกับประทับใจ กินใจกับคำคมพอเพียงของปราชญ์เกษตรชาวบ้านจึงเริ่มให้ความสนใจ เปลี่ยนแปลง หักเหชีวิตและตัดสินใจทำการเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำรงชีวิตและการจัดการพื้นที่การเกษตรที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้สามารถลดหนี้สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขในครอบครัวมากขึ้น โดยเฉพาะทางด้านจิตใจและสุขภาพ ทางด้านการพัฒนาสามารถพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้มากขึ้นเช่นกัน การจัดการชีวิตและครอบครัวของเกษตรกรที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ค้นพบตัวแบบหรือแบบอย่างการจัดการการพัฒนาของเกษตรกร (ตัวแบบของคน) และการจัดการพื้นที่การเกษตร (ตัวแบบของงาน) ของครอบครัวเกษตรกรทั้ง 10 ครอบครัว ซึ่งนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ตามตัวชี้วัด ของนายคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์เกษตรชาวบ้าน ได้แก่ หนี้สินลดลง ไม่มีหนี้สิน เกษตรกรทำงานเบาลง ดินดีขึ้น เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ มีธรรมชาติและระบบนิเวศน์เป็นตัวช่วย มีหลักประกันชีวิตและสวัสดิการของตนเองและครอบครัว มีผู้รับช่วงงาน คือ ทายาทเพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเป็นที่ศรัทธา ลูกหลานกราบไหว้ ระลึกถึงบุญคุณก่อเกิดความกตัญญูต่อพ่อแม่และแผ่นดิน นอกจากนี้ได้พิจารณาตามตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อวิเคราะห์และตีความหมายความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวเกษตรกร ซึ่งได้แก่ สุขภาพอนามัย (กายและจิตใจ) ความรู้/การฝึกอบรม ชีวิตการทำงาน การประกอบอาชีพ รายได้และการกระจายรายได้ สภาพแวดล้อม ชีวิตครอบครัวและการจัดการที่ดี
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ประเวศ วะสี. 2549. พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิมพ์ดี, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. 2542. เศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต.พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2540. เครื่องชี้วัดความอยู่ดีมีสุขและการวิเคราะห์เชิงนโยบาย. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.