กฟผ.กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาความขัดแย้งของประชาชนชาวอำเภอแม่เมาะต่อโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ในผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะยังไม่เป็นที่ยอมรับและพอใจของชุมชนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา แม้ว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้สร้างเครื่องกำจัดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (FGD) และนำมาตรการควบคุมตามมาตรฐานสากล ระบบบริหารงานคุณภาพ มาใช้ในการดำเนินงานภายในโรงไฟฟ้าแม่เมาะแล้วก็ตาม มีการจัดตั้งหน่วยงานมวลชนสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีกทั้งยังได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน ซึ่งได้รับการเห็นชอบจาก ครม. เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าปีละ 400 ล้านบาท แต่เหตุใดจึงยังไม่ประสบความสำเร็จแต่กลับจะเพิ่มปัญหาใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากการฟ้องร้องเรียกร้องความเสียหายจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะและคัดค้านกิจกรรมการทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ตลอดมาผู้เขียนได้เสนอแนวทางพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะและหน่วยงานมวลชนสัมพันธ์แบบครบวงจร ในลักษณะองค์รวม (holistic) ที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของชุมชน โดยการน้อมนำหลักปรัชญา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ บนพื้นฐานของลักษณะภูมิประเทศและวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนชาวอำเภอแม่เมาะที่มีความหลากหลาย (diversity) และเป็นพลวัต (dynamic) ผสมผสานกับนโยบายและแผนกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กฟผ. เป็นตัวแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การมีส่วนร่วมและการยอมรับของทุกฝ่าย (win-win solution) ผลการศึกษาพบว่า ความรัก ความสงบสุข ความสามัคคี ความสมานฉันท์ มีการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ชุมชนชาวอำเภอแม่เมาะสามารถพึ่งตนเองได้และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและสามารถใช้ต้นแบบความสำเร็จของการบริหารจัดการไปปรับใช้กับชุมชนอื่น เป็นรากฐานให้กับคนรุ่นต่อไป และพัฒนาประเทศในอนาคตสู่ความมั่นคง และยั่งยืนอย่างสมดุล
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. 2553. กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.egat.co.th/index.php?option=com_glossary&letter=%E0%B8%81&id=112 (18 กุมภาพันธ์ 2553).
ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3): 1-5.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). 2553. แนวพระราชดำริ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.rdpb.go.th/RDPB/front/SufficiencyEconomy.a spx?p=4 (24 มีนาคม 2553).