สมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องสมรรถนะการประกอบวิชาชีพ และความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการประกอบวิชาชีพในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย กับความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย และ 3) ศึกษาองค์ประกอบในการเพิ่มสมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยคณาจารย์ นักศึกษา บัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน และผู้ใช้บัณฑิตภาครัฐและเอกชน รวม 1,843 คน ทำการศึกษาเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาสมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย และศึกษาองค์ประกอบในการเพิ่มสมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความ สามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า สมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทยอยู่ในระดับปานกลาง สมรรถนะการประกอบวิชาชีพในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทยกับความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .73 องค์ประกอบที่ใช้ในการเพิ่มสมรรถนะการประกอบวิชาชีพและความสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมในประชาคมอาเซียนของบัณฑิตไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ การเรียนรู้ความแตกต่างหลักระหว่างชนชาติ ทัศนคติเชิงบวกระหว่างชนชาติ การใช้ภาษาอังกฤษในระหว่างชนชาติ ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเฉพาะทางและความเชี่ยวชาญอื่นที่สัมพันธ์กัน การสื่อสารและการรายงานข้ามวัฒนธรรม และการทำงานเป็นทีมข้ามวัฒนธรรม ทั้ง 6 องค์ประกอบนี้สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้ร้อยละ 95.47
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร ศิริรัตน์ โกศัลยวัฒน์ พรทิวา คงคุณ. 2548. การวิเคราะห์หลักสูตรพัฒนาบุคลากรการพยาบาลของสถาบันการศึกษาพยาบาลในพื้นที่ภาคใต้. คณะพยาบาลศาสตร์. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์, สงขลา.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ ดาริน โต๊ะกานิ มุสลินท์ โต๊ะกานิ. 2552. สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. Princess of Naradhiwas University Journal 1(1):1-11.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2541. แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 10. สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2555. การพัฒนาความเป็นนานาชาติของสถาบัน อุดมศึกษา. จดหมายข่าวสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 3(107): 3-4.
Chan, S. 1990. Early Intervention with culturally diverse families of infants and todlers. Infants and Young Children 3(2): 78-87.
Lynch, E.W., Hanson, M.J. 1998. Developing cross-cultural competence: A guide for working with young children and their families (2 nd ed.). Baltimore: Paul H. Brookes.
McDonald, D.P., G. McGuire, J. Johnston, B. Selmeski, and A. Abbe. 2008. Developing and managing cross-cultural competence within the Department of Defense: Recommendations for learning and assessment. Paper submitted to the Defense Language Office, Arlington, VA.
McIntosh, P. 1988. White privilege and male privilege: A personal account of coming to see correspondences through work and women's studies. Wellesley College Center for Research on Women, 5-9.
Torbiorn, I. 1982. Living abroad: Personal adjustment and personnel policy in the overseassetting. New York: Wiley.