ภูมิปัญญาของหมอน้ำมนต์พื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูกจากอุบัติเหตุศึกษาเฉพาะนายประเสริฐ ผลาพฤกษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภูมิปัญญาของหมอน้ำมนต์พื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูกจากอุบัติเหตุ ประกอบด้วย ภูมิหลังขององค์ความรู้ ขั้นตอน และวิธีการรักษา ใช้พื้นที่ในการวิจัย ได้แก่ บ้านนาดี-สร้างบง อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ประกอบด้วย หมอน้ำมนต์ จำนวน 1 คน ญาติของหมอน้ำมนต์ จำนวน 3 คน และผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วย จำนวน 26 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก สนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจสอบแบบสามเส้า (triangulation method) แล้วส่งข้อมูลกลับให้กลุ่มตัวอย่างโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลตามจุดมุ่งหมายของการวิจัยโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านภูมิหลังขององค์ความรู้ หมอน้ำมนต์ได้เรียนวิชารักษาโรคกระดูกมาจากบิดามีเหตุจูงใจจากประสบการณ์ที่คอยช่วยเหลือบิดารักษาผู้ป่วยและความกังวลว่าภูมิปัญญาการรักษาโรคกระดูกจะสูญหาย การเรียนวิชาจะเรียนได้เฉพาะวันเดือนปีที่ลงท้ายด้วยเลข 5 ได้แก่ วันที่ 5 เดือน 5 ปี พ.ศ. ที่ลงท้ายด้วยเลข 5 โดยผู้เรียนต้องเตรียมสิ่งของ ได้แก่ ขันธ์ 5 ห่อนิมนต์ ขันหมากเบ็ง และค่าคาย สำหรับใช้บูชาครู วิธีการเรียนครูผู้ถ่ายทอดวิชาจะบอกกล่าวเวทมนตร์คาถา จำนวน 5 บท ให้ผู้เรียนท่องตาม 3 ครั้ง เมื่อเรียนเสร็จผู้เรียนต้องท่องภาวนาเวทมนตร์คาถาต่อเนื่องกันทุกวันเป็นเวลาอีก 2 ปี จนกว่าจะมีบุคคลในครอบครัวหรือเครือญาติประสบอุบัติเหตุให้ผู้เรียนได้ลองทำการรักษา ถ้ารักษาหายก็จะสามารถเป็นหมอน้ำมนต์ได้ 2) ด้านขั้นตอนและวิธีการรักษา ก่อนการรักษาหมอน้ำมนต์จะบอกกล่าวให้ผู้ป่วยเตรียมสิ่งของ ได้แก่ ขันธ์ 5 ค่าคาย และน้ำสะอาด สำหรับใช้บูชาครูและทำน้ำมนต์ การรักษาหมอน้ำมนต์จะเสกเป่าเวทมนตร์คาถาลงในน้ำสะอาดแล้วนำมาพ่นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บต่อเนื่องกันประมาณ 7-15 วัน หรืออาจมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคกระดูกและอายุของผู้ป่วย หลังการรักษาเสร็จในแต่ละวันผู้ป่วยต้องดื่มน้ำมนต์และนำน้ำมนต์ไปรักษาต่อยังที่บ้านโดยเก็บน้ำมนต์ไว้บนที่สูง ห้ามบุคคลอื่นมาสัมผัส เมื่อหายเป็นปกติผู้ป่วยต้องกลับมาทำพิธีปลงคายที่บ้านของหมอน้ำมนต์
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
เดือน กิจแถลง. 2555. สัมภาษณ์ (8 ธันวาคม 2555). ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
ทัศนี สองจันทร์. 2555. สัมภาษณ์ (10 พฤศจิกายน 2555). นักวิชาการสาธารณสุข. แนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
นิตยา กิจไพศาล. 2539. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านรักษากระดูก: กรณีศึกษาหมอพื้นคนหนึ่งในตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย มหิดล, กรุงเทพฯ. 191 หน้า.
ประไพศรี พรเพ็ง. 2555. สัมภาษณ์ (10 พฤศจิกายน 2555). ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
ประเวียน ทองฟู. 2555. สัมภาษณ์ (10 พฤศจิกายน 2555). สมาชิกกลุ่มทอเสื่อกก. ความคิดเห็นต่อการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
ประเสริฐ ผลาพฤกษ์. 2555. สัมภาษณ์ (2, 7 ตุลาคม, 3, 25 พฤศจิกายน, 8, 23 ธันวาคม 2555). หมอน้ำมนต์. ประวัติความเป็นมา ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
ปิยนุช ยอดสมสวย และสุพิมพ์ วงษ์ทองแท้. 2552. การศึกษาภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, นครนายก. 72 หน้า.
พระมหาทองจันทร์ ทิพยวัฒน์. 2543. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 192 หน้า.
พระวิวัฒน์ ทาวัน. 2551. บทบาทของหมอพื้นบ้านปัจจุบัน: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ. 257 หน้า.
มีชัย จริยะนรวิชช์. 2543. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาโรคกระดูก กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 279 หน้า.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ. 2538. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพื้นฐานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน. ใน: เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง การแพทย์แผนไทยกับสังคมไทย. สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
เรณุกา ศรีผ่องงาม. 2545. การรักษากระดูกแบบโบราณของหมอพื้นบ้าน สุทัน จันหมายดี. วารสารจอมสุรินทร์ 2(9): 24-27.
สมจิตร ดวงสายวอ. 2555. สัมภาษณ์ (3 พฤศจิกายน 2555). ประวัติความเป็นมาและขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
สมพร ภูติยานันต์. 2542. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย: ว่าด้วยสมุนไพรกับแพทย์แผนไทย. โครงการพัฒนาตำราสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ.
สวรรค์ สมสาย. 2541. การรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์บ้านพลับ ตำบลดู่ทุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. 161 หน้า.
หัด จตุแทน. 2555. สัมภาษณ์ (24 พฤศจิกายน 2555). ขั้นตอนและวิธีการรักษาโรคกระดูกของหมอน้ำมนต์.
อรอุษา ปุณยบุรณะ. 2550. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านไทย: กรณีศึกษาการดูแลรักษาผู้ป่วยที่กระดูกหัก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี. 49 หน้า.
อ่อน มาตรา. 2555. สัมภาษณ์, (10 พฤศจิกายน 2555). ประวัติความเป็นมาและกระบวนการรักษาโรคด้วยสมุนไพร.