การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านต่อแพ ตำบลแม่เงา อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 พัฒนาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมเชิงปฏิบัติการ กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้นำชุมชน ชาวบ้านและเยาวชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า บ้านต่อแพ เป็นชุมชนไทใหญ่ที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยมีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นแหล่งเรียนรู้อันทรงคุณค่า ได้แก่ ศิลปกรรมไทใหญ่ กลุ่มจักสาน กลุ่มตีมีด และการหีบอ้อยแบบโบราณ โดยมีทุนทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ประวัติศาสตร์การเดินทัพของทหารญี่ปุ่น เส้นทางห้วยปลามุง อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นวัดต่อแพ หมุดเสาโทรเลข หลุมหลบภัย ซากรถและอาวุธของทหารญี่ปุ่น จากการพัฒนาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน พบว่าผู้นำชุมชนและชาวบ้านต่อแพเกิดความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากทุนทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 สามารถเพิ่มคุณค่าและดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี สามารถออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวได้ 4 โปรแกรมที่สำคัญ คือ 1) การท่องเที่ยวในชุมชน 1 วัน ไป – กลับ 2) การท่องเที่ยวในชุมชน 1 วัน 1 คืน 3) การท่องเที่ยวเดินป่า-พักแคมป์ 2 วัน 1 คืน และ 4) การท่องเที่ยวในชุมชนและเดินป่า 3 วัน 2 คืน ซึ่งโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ออกแบบขึ้นมานั้น ชุมชนสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ถึง 40 - 60 คน โดยผ่านกลุ่มกรรมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านต่อแพได้ตลอดปี
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
นิยพรรณ วรรณศิริ. 2540. มานุษยวิทยา สังคม และวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2540. ธุรกิจการจัดนำเที่ยว. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
พจนา สวนศรี. 2546. คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน. โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ, กรุงเทพฯ.
ยศ สันตสมบัติ. 2544. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการจัดการทรัพยากร. นพบุรีการพิมพ์, เชียงใหม่.
รัฐทิตยา หิรัณยหาด. 2544. แนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพหมู่บ้านวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว โดยใช้กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี. ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. 2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http: // thaicommunity basedtourismnetwork.wordpress.com (10 กุมภาพันธ์ 2556).
ศูนย์ไทใหญ่ศึกษา วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. 2556. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.taiyai. org. (10 กุมภาพันธ์ 2556).