การรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กิติพงษ์ ขัติยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษากับการรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 385 คน แบ่งเป็นนักศึกษาชาย 160 คน และนักศึกษาหญิง 225 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multistage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ค่าสถิติอนุมาน ได้แก่ t-test (indepen dent) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA)  และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธี LSD แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียงและข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา นำเสนอในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า


1)   การรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.486)


1.1)  ด้านการพอประมาณโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.476) เช่น ได้รับประทานอาหารไทย กลุ่ม ข้าวแป้ง


1.2)  การมีเหตุผล โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.649) เช่น ในการรับประทานอาหารไทยได้คำนึงถึงอาหารที่สด


1.3)  ด้านการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.335) เช่น ได้รับประทานอาหารไทยที่ปรุงสะอาด


2)  ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา กับการรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วยวิธี LSD พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในรายการ ค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารต่อเดือน

Article Details

How to Cite
[1]
ขัติยะ ก. 2018. การรับประทานอาหารไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 2 (ก.ค. 2018), 171–178.
บท
บทความวิจัย

References

ทิพวรรณ เรืองขจร. 2550. สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน. หจก. ภาพพิมพ์, กรุงเทพฯ. 325 หน้า.

ประคอง กรรณสูต. 2528. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. บริษัทศูนย์หนังสือ ดร.ศรีสง่า จำกัด, ปทุมธานี.

ประทีป พืชทองหลาง และอภิริยา นามวงศ์พรหม. 2556. รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มผู้ผลิตโคมล้านนา ชุมชนเมืองสารท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(3) : 129-139.

ประภาพรรณ เส็งวงศ์. 2550. การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยในชั้นเรียน. อี.เค.บุ๊คส์, กรุงเทพฯ.

ปรียานุช พิบูลสราวุธ. 2550. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการจัดการศึกษา. โครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, กรุงเทพฯ.

พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ วิฐารณ บุญสิทธิ์ และวิโรจน์ อารีย์กุล. 2547. กลยุทธ์การดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ “วัยรุ่น” ชัยเจริญ, กรุงเทพฯ. 296 หน้า.

มูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. ม.ป.ป. สารคดีเอกลักษณ์ชุดกินอย่างไทย. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2550.หัวใจสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.เส้นทางไทย 3(23): 5-7.

สมศรี เจริญเกียรติกุล. 2545. คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

สุณี ธนาเลิศกุล. 2544. รู้คุณรู้โทษโภชนาการ. พิมพ์ครั้งที่ 4.บริษัทรีดเดอร์สไดเจสท์ (ประเทศไทย) จำกัด,กรุงเทพฯ. 432 หน้า.

สุเมธ ตันติเวชกุล. 2550. แนวการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง. มติชนรายวัน (27 มีนาคม 2550): 34.

อรนุช จันทรโคตร. 2540. อาหารเพื่อสุขภาพทางเลือก-ทางรอดของผู้ผลิตและผู้บริโภค. กรุงเทพธุรกิจจุดประกาย 10(3272): 3.