การบริโภคอาหารที่ทำให้มีอายุยืนยาวของผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริโภคอาหารที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนมีอายุที่ยืนยาวภายใต้วัฒนธรรมล้านนาและศึกษาเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่นำไปสู่การมีอายุที่ยืนยาวของผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ประชากรเป้าหมายของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 8 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบอกต่อ ผู้วิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บข้อมูลแบบเผชิญหน้าผลการศึกษาพบว่า การบริโภคอาหารที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนมีอายุที่ยืนยาวนั้น อาหารส่วนใหญ่ได้จากธรรมชาติ รับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก น้ำพริกถือเป็นหนึ่งในรายการอาหารหลักแต่ละมื้อ ทานพร้อมผักสดและผักนึ่ง ส่วนอาหารอื่นจะเป็นอาหารประเภทแกง ต้ม คั่ว ผัด ตำ ยำ หรือทอด อาหารแต่ละประเภทมักเพิ่มรสชาติโดยการปรุงด้วยถั่วเน่าซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารของชาวไทยวน ผู้สูงอายุชาวไทยวนจะไม่นิยมรสหวานมากนัก อาหารที่มีรสเปรี้ยวมักได้มาจากมะกอก อาหารส่วนใหญ่จะไม่ใส่กะทิ และมีปริมาณไขมันค่อนข้างต่ำ ส่วนเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารที่นำไปสู่การมีอายุที่ยืนยาวนั้น การอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ จึงนิยมเก็บผักพื้นบ้านที่ปลูกเองมาประกอบอาหาร ทำให้ผู้สูงอายุเพลิดเพลินจากการปลูกผัก เนื้อสัตว์ที่รับประทานจะเน้นการทานปลาเป็นหลักรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ เน้นมื้อเช้าและมื้อกลางวัน การอยู่อาศัยร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ รับประทานอาหารพร้อมลูกหลาน ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้มาก ลูกหลานจะเป็นผู้ดูแลในเรื่องการทำอาหาร โดยอาหารในแต่ละมื้อจะมีประมาณ 3-4 อย่าง มีวิธีการปรุงที่หลากหลายรูปแบบ ประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์ ชวลิต เสถียรพัฒนพงศา ปัทมาวดี กสิกรรม และทิพย์รัตน์ มณีเลิศ. 2543. วัฒนธรรมการกินของคนเมือง น้ำพริกและผักพื้นบ้านล้านนา. ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.
ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล. 2549. ประชากรไทยในอนาคต. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.ipsr.mahidol.ac.th /IPSR/AnnualCnference/ConferenceII/Article/Article02.htm (27 มีนาคม 2556).
พรรณเพ็ญ เครือไทย. 2552. ครอบครัวสบายสไตล์ล้านนา พ.ศ. 2551: วิถีชีวิตและการดูแลสุขภาพหนุ่มสาว. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
มานพ แก้วสนิท. 2556. น้ำปู: ของอร่อยจากล้านนา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.stou .ac.th/study/sumrit/10-56(500)/page1-1056 (500).html (1 ตุลาคม 2556).
ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. 2542. น้ำปู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล:http:// m-culture.in.th/moc_new/ album/170419/น้ำปู/ (1 ตุลาคม 2556).
สมโภชน์ อเนกสุข และกชกร สังขชาติ. 2548. รูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงวัยอายุเกิน 100 ปี จังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ 17(1): 95 – 107.
สมหมาย เปรมจิตต์ ชัปนะ ปิ่นเงิน และศรีเลา เกษพรหม. 2550. ครอบครัวสบายสไตล์ล้านนา: วิถีชีวิตและการดูแลผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, เชียงใหม่.
หน่วยวิจัยข้าวก่ำ. 2555. สรรพคุณข้าวก่ำ. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://web.agri.cmu. ac.th/prru (1 ตุลาคม 2556).
อัมพรพรรณ ธีราบุตร กนกกาญจน์ กองพิธี ฐิติกา แสนการุณ พจนี วรสุนทร และพานิช มหาชานนท์. 2552. คู่มือการส่งเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านสุขภาพบ้านโนนม่วง ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยพัฒนาการสร้างเสริมดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.