พัฒนาการการผลิตและหน้าที่ทางสังคม ของผ้าไหมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วัลลภ ทองอ่อน

บทคัดย่อ

การศึกษาพัฒนาการการผลิตและบทบาททางสังคมของผ้าไหมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทำเลที่ตั้งหน่วยผลิต ศึกษาพัฒนาการและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการผลิต ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิต ศึกษาหน้าที่ทางสังคมและ และวิเคราะห์โครงข่ายทางสังคมที่มีผลต่อกระบวนการผลิต ศึกษาโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่าการผลิตผ้าไหมสันกำแพงมีพัฒนาการมาจากการริเริ่มของกลุ่มพ่อค้าที่ทำการติดต่อค้าขายระหว่างชุมชนในสมัยโบราณได้นำเส้นใยไหมเข้ามาทอแทนที่ผ้าฝ้ายในเขตชุมชนสันกำแพง ลักษณะของการว่าจ้างชาวบ้านเป็นแรงงานทักษะในการทอ ในขณะที่กลุ่มพ่อค้าเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ ออกแบบลวดลาย สีสันและดำเนินการการตลาด การผลิตเจริญขึ้นเมื่อเชียงใหม่ถูกพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผ้าไหม           สันกำแพงได้รับการพัฒนาให้เป็น “สัญลักษณ์ทางพื้นที่” เป็นของที่ระลึกสำหรับการท่องเที่ยวและได้มีส่วนผลักดันให้อำเภอสันกำแพงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีส่วนดึงดูดงานหัตถกรรมอื่น ๆ เข้าสู่อำเภอสันกำแพงจนทำให้ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐบาลและเอกชนให้เป็นเส้นทางสายหัตถกรรมของจังหวัดเชียงใหม่ แหล่งผลิตผ้าไหมจึงเคลื่อนย้ายติดกับถนนสายหลักของสันกำแพงและเข้าใกล้ตัวเมืองมากขึ้น หน้าที่ทางสังคมของผ้าไหมสันกำแพงที่สำคัญคือเป็นเครื่องนุ่งห่มที่แสดงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่ การท่องเที่ยวมีอิทธิพลสูงต่อการเปลี่ยนแปลงการผลิตทั้งทางเทคนิคการผลิตและประเภทของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยทางโครงข่ายทางสังคมของกลุ่มผู้ลงทุนมีอิทธิพลสูงต่อการผลิต การออกแบบ ลวดลายและสีสัน ตลอดทั้งการยกเลิกการผลิตและการดำรงอยู่ของผ้าไหมสันกำแพง

Article Details

How to Cite
[1]
ทองอ่อน ว. 2018. พัฒนาการการผลิตและหน้าที่ทางสังคม ของผ้าไหมสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 2 (ก.ค. 2018), 153–159.
บท
บทความวิจัย

References

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. 2537. “พ่อค้าวัวต่าง: ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือ”. เศรษฐกิจนครเชียงใหม่จากอดีตสู่อนาคต, เชียงใหม่.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล และแพทรีเซีย แน่นหนา.2533. ผ้าล้านนา: ยวน ลื้อ ลาว. อัมรินทร์พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.

ปวินรัตน์ แซ่ตั้ง. 2556. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติผ่านกระบวนการย้อมสีธรรมชาติโดยการใช้สารช่วยย้อมจากนํ้าพุร้อนแจ้ซ้อน อําเภอเมืองปาน จังหวัดลําปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 9-22.

ปลายอ้อ ทองสวัสดิ์. 2536. เศรษฐกิจนครเชียงใหม่ ยุค 2339-2484. ใน:เศรษฐกิจนครเชียงใหม่จากอดีตสู่อนาคต, เชียงใหม่.

วัลลภ ทองอ่อน. 2535. การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งอุตสาหกรรมเชิงพฤติกรรม: กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกส์ในจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Chapman, K., and D. Walker. 1987. Industrial Location: Principles and Politices. Basil Blackwell, New York.

Le May, R. 1930. Siam: Nature and Industry. The Ministry of Commerce and Communication, Bangkok.

Smith, D.M. 1981. Industrial Location of Location Decision: An Economic Geography Analysis. Wiley, New York.