การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านหนองไซ ตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน

Main Article Content

กิตติกร สาสุจิตต์
นิกราน หอมดวง
ณัฐวุฒิ ดุษฎี

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนั้นต้องมีการต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ในชุมชน ศูนย์พัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนองไซ ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งชุมชนมีการปลูกต้นลำไยเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีการนำไม้ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งต้นลำไยมาเผาถ่านด้วยเตาแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ และเตาเผาถ่านแบบใช้ถังขนาด 200 ลิตร ซึ่งผลพลอยได้จากการเผาถ่านไม้ คือ น้ำส้มควันไม้ โดยผลผลิตถ่านไม้จากเตาเผาถ่านจะมีผลผลิตร้อยละ 16 โดยน้ำหนัก และได้น้ำส้มควันไม้ร้อยละ 5 ของน้ำหนักไม้ ทั้งนี้ในโครงการวิจัยนี้จึงได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บน้ำส้มควันไม้ โดยใช้ชุดหล่อเย็นจากถังน้ำ ซึ่งทำให้ได้น้ำส้มควันไม้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากน้ำหนักไม้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากน้ำส้มควันไม้ทำโดยใช้ส่วนผสมของน้ำส้มควันไม้ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก ร่วมกับผลิตภัณฑ์ทำสบู่ เจลล้างมือฆ่าเชื้อโรค แชมพู โดยจะใช้ในการฆ่าเชื้อโรค นอกจากนั้นยังนำถ่านไม้ที่ไม่ได้คุณภาพมาทำการอัดแท่ง หรือทำเป็นถ่านดูดกลิ่นอับชื้น ถ่านผลไม้ สำหรับการดับกลิ่นอีกทางหนึ่งด้วย จากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางคณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและฝึกอบรมให้กับชุมชน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านหนองไซ และต่อยอดในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองไซต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
สาสุจิตต์ ก., หอมดวง น. และ ดุษฎี ณ. 2018. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงบ้านหนองไซ ตำบลป่าสัก จังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 2 (ก.ค. 2018), 125–132.
บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี. ม.ป.ป. การผลิตถ่านผลไม้ดูดกลิ่นและประดับตกแต่ง. สำนักเทคโนโลยีชุมชน กรมวิทยาศาสตร์บริการ, กรุงเทพฯ. 3 หน้า.

ณัฐวุฒิ ดุษฎี นิกราน หอมดวง อภิชาติ สวนคำกอง ญาณากร สุทัศนมาลี ประกิตต์ โก๊ะสูงเนิน ชูรัตน์ ธารารักษ์ ชรุธ หงส์หิรัญ และเสรี กังวานกิจ. 2553. การสำรวจเชื้อเพลิงจากชีวมวลในพื้นที่ภาคเหนือ (เพิ่มเติม). สำนักงานพลังงานภาค 10 จังหวัดเชียงใหม่ / ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัย แมโจ้, เชียงใหม่. 130 หน้า.

ณัฐวุฒิ ดุษฎี ชูรัตน์ ธารารักษ์ เหมือนจิต แจ่มศิลป์ นิกราน หอมดวง กิตติกร สาสุจิตต์ ณฐพบธรรม พบธรรมเจริญใจ ประวิทย์ ลี้เหมือดภัย และธนิศรา ต๊ะเรือน. 2554. พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานที่เหมาะสม งานออกแบบและพัฒนาเตาอบย่างไร้ควันและเตาผลิตถ่านยาวสำหรับชุมชน. สำนักวิชาการพลังงานภาค 10 เชียงใหม่ / ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. 81 หน้า.

ณิฐิมา เฉลิมแสน บุญชู นาวนนุเคราะห์ อรรถพล ตันไสวณรงค์ นันต๊ะจันทร์ ธัญรัตน์ จารี และพรพล บุญดา. 2556. ผลของการเสริมน้ำส้มควันไม้ดิบ และน้ำส้มควันไม้กลั่นในอาหารไก่เนื้อ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1 (2) : 111-121.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2556. สถิติการเกษตรประเทศไทย ปี 2556. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, นนทบุรี. 237 หน้า.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแชมพู. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://app.tisi.go.th/otop/standard/ standards.html (9 เมษายน 2555).

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2553. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนน้ำส้มควันไม้. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://app.tisi.go.th/otop/ standard/standards.html (9 เมษายน 2555).