การผลิตหอมผงเพื่อเพิ่มมูลค่าจากหอมหัวใหญ่คัดทิ้ง ของสหกรณ์ผู้ปลูกหอมหัวใหญ่สันป่าตอง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
หอมหัวใหญ่ที่ใช้ในการวิจัยเป็นพันธุ์ซุปเปอร์เร็กซ์มีพื้นที่การเพาะปลูกในเขตอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ หอมหัวใหญ่มีขนาดประมาณ 7 - 9 เซนติเมตร และเปลือกนอกสีน้ำตาล มีน้ำหนักประมาณ 282.78 ± 38.95 กรัมต่อหัว มีความชื้น 92.56% และของแข็งทั้งหมด 7.44% ตัดปลายด้านยอดและรากออกด้านละ 1 เซนติเมตร ผ่าครึ่งเอาแกนกลางออก หั่นตามยาวหนา 2 - 5 มิลลิเมตร นำชิ้นหัวหอมมาอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 oC เป็นเวลา 6 ชั่วโมง หอมที่อบแห้งแล้วมีความชื้น 4.53 ± 0.07% และค่า water activity เท่ากับ 0.304 ± 0.001 ชิ้นหัวหอมที่อบแห้งแล้วนำมาบดละเอียด ได้หอมผงที่มีความชื้น 5.28 ± 0.00% ค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 90.9 ± 0.1, - 5.1 ± 0.6 และ + 22.4 ± 0.6 ตามลำดับ ค่า water activity เท่ากับ 0.305 ± 0.012 ปริมาณฟลาโวนอยด์ และพอลิฟีนอลทั้งหมดเท่ากับ 10.59 ± 0.59 mg quercetin/g และ 4.37 ± 0.14 mg GAE/g ตามลำดับ หอมผงมีน้ำตาลทั้งหมด 737.93 ± 12.92 mg/g ละลายใน น้ำเย็นได้ 27.7 ± 1.2% และละลายในน้ำร้อนได้ 32.0 ± 1.7% การเก็บรักษาหอมผงในถุงอะลูมิเนียมฟอยล์เป็นเวลา 80 วัน พบว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ± 1 oC ค่า water activity ของหอมผงเพิ่มขึ้นจาก 0.305 ± 0.012 เป็น 0.340 ± 0.032 ส่วนปริมาณฟลาโวนอยด์ ลดลงจาก 10.95 ± 0.59 เป็น 8.79 ± 0.32 mg quercetin/g หอมผงที่เก็บรักษาไว้ ณ อุณหภูมิห้อง (26 ± 1 oC) เป็นเวลา 80 วัน พบว่าสีเหลืองจะเข้มขึ้นและเข้มกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 ± 1 oC ราคาต้นทุนการผลิตหอมผงเท่ากับ 268.88 บาทต่อ 80 กรัม
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ดนุชา คุณพนิชกิจ. 2553. การวิเคราะห์ต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ศุภธณิศร์ เติมสงวนวงศ์. 2556. ปัจจัยสู่ความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดสรรสุดยอดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 31-41.
อาจารีย์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์ ฐิติมา ธันวราคม วรินทร แซ่ฮุย มัลลิกา ตั้งตรงกิจเจริญ และ พิสิฏฐ์ ธรรมวิถี. 2553. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ซุปก้อนหอมหัวใหญ่. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.rdi.ku.ac.th/kasetresearch5353/group03/pisit/template_group03.html (10 พฤศจิกายน 2554).
Ioku, K., Y. Aoyama. A. Tokuno. J. Terao. N. Nakatani. and Y. Takei. 2001. Various cooking methods and the flavonoid content in onion. Journal of Nutritional Science and Vitaminology. 47 : 78-83.