การพัฒนาศักยภาพด้านการแปรรูปมะไฟจีน ของกลุ่มแปรรูปมะไฟจีน ตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของผลิตภัณฑ์มะไฟจีนเชื่อมแห้ง และเพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพด้านการแปรรูปมะไฟจีน โดยศึกษากลุ่มแปรรูปมะไฟจีน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะไฟจีน บ้านกอก กลุ่มแปรรูปมะไฟจีนบ้านท่าน้าว กลุ่มแปรรูปมะไฟจีนบ้านหนองรัง และกลุ่มแปรรูปมะไฟจีนบ้านแช่พลาง ในตำบลท่าน้าว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ใช้แบบสอบถาม ศึกษาดูงานกลุ่มแปรรูปอาหารที่เป็นตัวอย่างที่ดีและหาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างอุปกรณ์ต้นแบบอบแห้งมะไฟจีน ฝึกอบรมให้ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี ผลการศึกษาพบว่าปัญหาด้านการผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการตากในฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูกาลของมะไฟจีนทำให้มีวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เสียหาย ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์มะไฟจีนเชื่อมแห้งเกิดสีคล้ำเมื่อเก็บไว้นานเกิน 5 เดือน จากการสังเกตของผู้วิจัยพบว่าทุกกลุ่มมีปัญหาด้านสุขาภิบาลการผลิต ถึงแม้ว่าทุกกลุ่มเคยผ่านการอบรมสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหารจากหน่วยงานของรัฐ ไม่พบปัญหาด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์มะไฟจีนเชื่อมแห้งเพราะสามารถจำหน่ายได้หมดและบางครั้งผลิตไม่พอต่อการจำหน่าย การสร้างต้นแบบตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแก้ปัญหาการตากในฤดูฝน การทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดอมมะไฟจีนที่ใช้มะไฟจีนเชื่อมแห้งตกเกรด มีสีคล้ำ รวมทั้งมะไฟจีนเชื่อมแห้งที่มีตำหนิ เนื่องจากโดนฝนขณะตากเป็นวัตถุดิบในการผลิต และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำเม็ดอมมะไฟจีนให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปมะไฟจีนบ้านกอก ซึ่งสามารถรับเทคโนโลยีไปผลิตได้ทันทีและได้รับการตอบรับทางการตลาดดีมาก ช่วยแก้ปัญหาและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มะไฟจีนเชื่อมแห้งที่ไม่ได้คุณภาพได้เป็นอย่างดี การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและความสามารถในการต้านสารอนุมูลอิสระ (DPPH radical scavenging activity) แสดงให้เห็นว่ามะไฟจีนที่ผ่านการเชื่อมแห้งแล้ว มีคุณค่าทางอาหารและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระใกล้เคียงกับมะไฟจีนสด
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
พรรณผกา รัตนโกศล สุระพงษ์ รัตนโกศล และสมศักดิ์ ศรีสมบุญ. 2551. มะไฟจีน...สมุนไพรชนิดใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 39 (3 พิเศษ): 543-546.
พนิตสุภา ธรรมประมวล และกาสัก เต๊ะขันหมาก. 2556. การพัฒนาศักยภาพของกลุ่มช่างทองเหลืองและกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ทองเหลือง บ้านท่ากระยาง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 41-50.
พีระวรรณ วังสริยวรรณ รัชนีวรรณ อ่อนชาติ และเบ็ญจรัก วายุภาพ. 2550. การยับยั้งการเกิดสีน้ำตาลในมะขามเปรี้ยวสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า: โครงงาน IRPUS ประจำปี 2550. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www. irpus.or.th/ project_file/2550_2008-07-01_F113_I350A03 008_Complete.pdf. (20 พฤษภาคม 2551).
ภูวดล แซ่โซ้ง วัชรีพร พังจันตา และมลิวรรณ์ กิจชัยเจริญ. 2551. การยืดอายุการเก็บรักษามะไฟจีนเชื่อมแห้ง. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, น่าน.
สามารถ จิตนาวสาร. 2551. มะไฟจีน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://www.tistr.or.th (24 พฤษภาคม 2551).
สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน. 2551. ผลิตภัณฑ์จากมะไฟจีนของดีเมืองน่าน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://nan.doae.go.th/nan14/genaral/mafaijen.doc (24 พฤษภาคม 2551).
AOAC. 1995. Official Methods of Analysis. 16 th ed. The Association of Official Analytical Chemists, Virginia.
Blois, M.S. 1958. Antioxidant determinations by the use of a stable free radical. Nature 181: 1199–1200.
Gülçın, I., M. Oktay, E. Kireçcı and O. I. Kufrevıoglu. 2003. Screening of antioxidant and antimicrobial activities of anise (Pimpinella anisum L.) seed extracts. Food Chemistry 83: 371-382.