ผลการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในชุมชนเทศบาลนครลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการตรวจพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ผ่านการรับรองจาก อ.ย.มีจำนวนมากและยากต่อการตรวจสอบสืบเนื่องจากการขาดแคลนบุคลากรและการติดตามตรวจสอบอันตรายจากการบริโภค ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา โดยการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและแบบผสมเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและผลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมแก่ชุมชนในการส่งเสริมความรู้เท่าทันในการบริโภค กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,000 คน อยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยง (CVI) เท่ากับ 0.825 และค่าความเชื่อมั่นโดยสัมประสิทธิ์แอลฟา (coefficient-α) เท่ากับ 0.88 ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ มากกว่าร้อยละ 90 มีความเห็นที่ถูกต้อง (82.6%) ด้านทัศนคติ มีความเชื่อมั่นในคุณค่าที่ได้รับและการคุ้มครองโดยกฎหมายควบคุมอย่างทั่วถึง ด้านพฤติกรรมการบริโภค รับรู้การโฆษณา (95.9%) สูงสุดคือทางโทรทัศน์ (17.9%) มีการบริโภคเอง (65.4%) จากนั้นเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน แบบเจาะจงจากผู้ตอบแบบสอบถามที่รับรู้เกี่ยวกับการบริโภคเพื่อสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ข้อคำถาม ได้แก่ ประสิทธิภาพ ผลลัพธ์และเหตุผลความจำเป็นในการบริโภค ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคเองมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ไม่พบอันตรายหรือผลกระทบต่อเศรษฐกิจครอบครัว สรุปได้ว่ามีการบริโภคเพราะ 1) ได้รับมาจากผู้อื่น 2) เชื่อถือในผลิตภัณฑ์ไม่สนใจที่มาของแหล่งผลิต 3) มีการโฆษณาสรรพคุณ 4) ต้องการเผยแพร่และแนะนำผู้อื่น 5) แสดงถึงความกตัญญู 6) สามารถหาบริโภคได้โดยไม่กระทบกับรายรับ 7) ยังไม่พบข้อเสียหรือภาวะแทรกซ้อนโดยตรงจึงต้องการบริโภคต่อไป การค้นพบนี้ทำให้เห็นว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะกลายเป็นความจำเป็นและค่านิยมใช้ประจำครอบครัวและอาจมีการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อการบริโภคจนยากแก่การควบคุม
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จินดา บุญช่วยเกื้อกูล. 2541. การรับรู้และการใช้ประโยชน์ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารของประชาชนในพื้นที่เขตเมืองในประเทศไทย. กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี.
จิตตินันท์ เสวะลาภี. 2544. รูปแบบการดำเนินชีวิต ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อ อาหารเพื่อสุขภาพในเขตเมืองเชียงใหม่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ณฐกร ชินศรีวงศ์กูล. 2544. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ณรงค์ศักดิ์ คุณูปถัมภ์. 2557. กฟผ.กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2 (1): 1-9.
ยุพดี บูรณ์ชวาล. 2546. ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคยาลดความอ้วนของวัยรุ่นสตรีในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9818 (15 กรกฎาคม 2556).
สินีนาฏ โรจนประดิษฐ. 2552. รายงานวิจัยและประเมินผลโครงการ อย.น้อย กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
Anonymous. 2552. คนไทยนิยม “อาหารเสริม” มากสุดในโลก. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http// www4.thaihealth.or.th/healthcontent/article/8477(18 มิถุนายน 2556).