การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านพุทธศิลป์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

นพพงษ์ สว่างอัม
อนุกูล ศิริพันธ์ุ

บทคัดย่อ

การศึกษาและสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลทางด้านเอกสารและสำรวจแหล่งศิลปกรรมทางด้านพระพุทธศาสนา และเพื่อพัฒนาและทดลองเส้นทางการท่องเที่ยวทางด้านศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ได้ศึกษาข้อมูลประวัติของวัดรวมถึงโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น ซุ้มมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ เสลี่ยงคานหาม สัตตภัณฑ์ ธรรมาส์น เป็นต้น ทั้งหมด 12 แห่ง  คือ  วัดศรีรองเมือง วัดปงสนุก วัดแสงเมืองมา วัดหัวข่วง วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม  วัดพระเจดีย์ซาวหลัง วัดม่อนจำศีล  วัดม่อนปู่ยักษ์ วัดป่าฝาง วัดศรีชุม วัดบุญวาทย์และวัดเกาะวารุการาม ได้แบ่งและจัดกลุ่มความสำคัญตามรูปแบบศิลปกรรมทางพุทธศาสนา เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มวัดของชาวพม่า-ไทใหญ่ กลุ่มวัดของคนพื้นเมือง และกลุ่มวัดที่ผสมทั้งวัดพื้นเมืองและวัดพม่า-ไทใหญ่ และวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ได้ออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อทดลองเส้นทางกับกลุ่มผู้ประกอบการ มักคุเทศน์ นักท่องเที่ยว และชาวบ้านที่อยู่ในชุมชน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการทดลองเส้นทาง  ซึ่งได้นำผลของการทดลองเส้นทางการท่องเที่ยวมาปรับ เพื่อสร้างเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวอีกครั้ง หลังจากทำการทดลองเส้นทางและปรับเส้นทางการท่องเที่ยว ทั้งวัดแบบพื้นเมือง และวัดแบบพม่า-ไทใหญ่ ทั้งหมดสามารถเดินทางชมทั้ง 9 วัด ภายใน 1 วัน  และสร้างเอกสารนำเที่ยว  (แผ่นผับ)  โดยใช้ชื่อว่า “9  พุทธศิลป์ ถิ่นเขลางค์ วัดพื้นเมือง พม่า – ไทใหญ่” ผลจากการทดลองเส้นทางการท่องเที่ยว ดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สามารถเที่ยวได้สะดวก เนื่องจากวัดทั้งหมดอยู่ภายในเขตอำเภอเมือง สะดวกในการเที่ยวชม  จึงได้ออกแบบเอกสารนำเที่ยว (แผ่นผับ) ที่มีโปรแกรมท่องเที่ยว ทั้ง 3 โปรแกรมให้นักท่องเที่ยวได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม และแยกเอกสารนำเที่ยว (แผ่นผับ) เป็นภาษาไทย 1 ฉบับ และภาษาอังกฤษ  1 ฉบับ   

Article Details

How to Cite
[1]
สว่างอัม น. และ ศิริพันธ์ุ อ. 2018. การออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวด้านพุทธศิลป์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 3 (ก.ค. 2018), 265–276.
บท
บทความวิจัย

References

ภาณุพงษ์ เลาหสม. 2534. จิตกรรมฝาผนังล้านนา. สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, กรุงเทพฯ.

สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. 2556. การจัดการท่องเที่ยวสักการะพระเกจิอาจารย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 21-30.

สุภัทรดิศ ดิศกุล. 2534. ศิลปะในประเทศไทย. อมรินทร์. พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ.

สุรพล ดำริห์กุล. 2542. ล้านนา สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม. รุ่งอรุณพับลิชชิ่ง จำกัด, กรุงเทพฯ.

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. 2556. การพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่โดยชุมชน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 53-65.