อัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะ (ปิ้งขาว)

Main Article Content

รจนา ชื่นศิริกุลชัย
เรืองชัย ชื่นศิริกุลชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะและเพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะ  โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนามด้วยการสนทนากลุ่ม จากผลการวิจัยพบว่า การสร้างอัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้เรียนรู้เนื้อหาผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะของชนเผ่าปกาเกอะญอ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นการนำเมล็ดมาสกัดสีและการย้อมผ้าได้หลายเฉดสีตามกระบวนการขั้นตอน และนำความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าสีฟ้าจากเมล็ดคอคอเด๊าะมาสร้างเป็นแฟชั่นผ้าสีฟ้า ผ่านกระบวนการเรียนรู้ภาคทฤษฎีด้านการออกแบบ การใช้อัตลักษณ์ของชนเผ่าปกาเกอะญอเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบโดยใช้รูปแบบโครงเสื้อที่มีความเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่น เฉพาะตน นำมาผสมผสานกันในรูปแบบแฟชั่นชุดลำลองหญิง ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถทำการออกแบบแฟชั่นและตัดเย็บได้เป็นอย่างดี ในด้านแนวทางการอนุรักษ์อัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะ สรุปได้ว่ามี 3 แนวทาง ด้วยกันแนวทางที่หนึ่ง คือ การวิจัยเรื่องการอนุรักษ์พันธุกรรม ต้นคอคอเด๊าะให้ยังคงอยู่คู่ชนเผ่า เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่หายาก และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของชนเผ่า ควรมีการฝึกอบรมขยายผลการใช้สีย้อมจากคอคอเด๊าะให้กับชนเผ่าปกาเกอะญอทั่วประเทศหรือชนเผ่าอื่น ควรอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาวิธีการย้อมสีจากเมล็ดคอคอเด๊าะออกสู่ชนเผ่าต่าง ๆ ให้แพร่หลาย ก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ต่อชุมชน ชนเผ่า แนวทางที่สองคือการคงความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่าปกาเกอะญอ ความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่า ซึ่งปัจจุบัน เริ่มสูญหายไป ล้วนส่งผลให้วิถีชีวิตในชุมชนเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์อย่างมาก การที่จะทำการอนุรักษ์ให้คงอยู่สิ่งสำคัญและอยู่ที่ทางกลุ่มชนเผ่าเองต้องตระหนัก และไม่ควรละทิ้งความเป็นอัตลักษณ์ของตนเองโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ และแนวทางสุดท้าย การสร้างสัญลักษณ์ชนเผ่าและการนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบแฟชั่นในระบบเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
[1]
ชื่นศิริกุลชัย ร. และ ชื่นศิริกุลชัย เ. 2018. อัตลักษณ์แฟชั่นผ้าสีฟ้าธรรมชาติจากเมล็ดคอคอเด๊าะ (ปิ้งขาว). วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2, 3 (ก.ค. 2018), 255–263.
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชีวัน บัวแดง. 2539. การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยง: กรณีศึกษาหมู่บ้านในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ฉัตรชัย เขม้นงาน และวีระพล จ้อยทองมูล. 2538. หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2538.

ณงค์ณุช นทีพายัพทิศ. 2556. อัตลักษณ์ ผ้าทอมือ กะเหรี่ยง ปกาเกอะญอ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 113-121.

นฤมล อรุโณทัย. 2551. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2551. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1476 24 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2551.

สบพันธ์ ชิตานนท์. 2549. เศรษฐกิจเพียงพอ “หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://services.dpt.go.th/dpt_kmeenter/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=1 (10 ธันวาคม 2555).

เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. 2546. อัตลักษณ์ของไทลื้อและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้ระบบเศรษฐกิจ ทุนนิยม: กรณีศึกษาบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.