การใช้เศษหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก

Main Article Content

กิตติพงษ์ สุวีโร
ประชุม คำพุฒ
นิรมล ปั้นลาย
ธงเทพ ศิริโสดา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หินเหลือทิ้งจากเหมืองหินภูเขาไฟ (หินบะซอลต์) เป็นมวลรวมในผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก กำหนดอัตราส่วนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 : หินเหลือทิ้ง : น้ำ เท่ากับ 1 : 8 : 0.6 โดยน้ำหนัก เปรียบเทียบสมบัติของคอนกรีตบล็อกที่ใช้หินเหลือทิ้งจากเหมืองหินภูเขาไฟและหินเหลือทิ้งจากเหมืองหินปูน (มวลรวมทั่วไป) รวม 4 ชนิด ขึ้นรูปคอนกรีตบล็อก ขนาด 7 x 19 x 39 เซนติเมตร ด้วยเครื่องอัดคอนกรีตบล็อก ทดสอบตามมาตรฐาน มอก. 58 – 2533 เรื่องคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนัก ผลการทดสอบ พบว่าคอนกรีตบล็อกหินภูเขาไฟ  มีความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัด และการนำความร้อนต่ำกว่าคอนกรีตบล็อกปกติ นอกจากนี้การดูดซึมน้ำและการหดตัวทางยาวมีค่ามากกว่าคอนกรีตบล็อกปกติ อย่างไรก็ตาม คอนกรีตบล็อกทั้งหมดมีสมบัติผ่านตามที่มาตรฐานกำหนด ทำให้คอนกรีตบล็อกหินภูเขาไฟสามารถใช้เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังป้องกันความร้อนได้ดี

Article Details

How to Cite
[1]
สุวีโร ก., คำพุฒ ป., ปั้นลาย น. และ ศิริโสดา ธ. 2018. การใช้เศษหินภูเขาไฟในผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 1 (ก.ค. 2018), 115–122.
บท
บทความวิจัย

References

ดนุพล ตันนโยภาส. 2553. แร่และหิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

นันทชัย ชูศิลป์. 2556. หน่วยน้ำหนักและกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตพรุนผสมกะลาปาล์มน้ำมัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(1): 97-106.

ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2556. การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 101-109.

สมพิศ ตันตวรนาท ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2555. การเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นฉนวนความร้อนและการรับกำลังของคอนกรีตบล็อกผสมน้ำยางธรรมชาติ: กรณีผสมมวลรวมขนาดต่างกัน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 17. โรงแรมเซ็นทาราโฮเทล แอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์, อุดรธานี.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.). 2517ก. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีชักตัวอย่างและการทดสอบวัสดุงานก่อซึ่งทำด้วยคอนกรีต (มอก.109-2517).
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.). 2517ข. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวิธีทดสอบการหดแห้งของคอนกรีตบล็อก (มอก.110-2517). สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.

สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.). 2533. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบล็อกไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2533). สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ.

American Society for Testing and Materials (ASTM). 2010. Standard test method for Steady-State Heat Flux Measurements and Thermal Transmission Properties by means of Guarded Hot Plate Apparatus (ASTM C177 – 10). ASTM International. Conshohocken, PA.

El-Alfi, E.A., A.M. Radwan, and M.H. Ali. 2004. Physico-mechanical properties of basalt bricks. International Ceramic Review 53(3): 178–181.

Youssef, N.F., T.A. Osman, E. El-Shimy, and H.F. Abadir. 2004. Utilization of granite–basalt fine quarry waste in a ceramic floor tile mixture. Silicates Industrials 69(1–2): 7–13.