การออกแบบและสร้างเตาผึ่งใบชาแบบเป่าลมเย็นโดยใช้พลังงานน้ำ สำหรับชุมชนหมู่บ้านดอยปู่หมื่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สมหมาย สารมาท
พิเชษฐ์ ทานิล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างเตาผึ่งใบชาแบบเป่าลมเย็น โดยใช้พลังงานน้ำขับเคลื่อนในขั้นตอนการผึ่งยอดชาสด โดยใช้ความดันน้ำประมาณ 3 บาร์ เป็นต้นกำลังขับกังหันน้ำหมุนใบพัดลมที่ความเร็วรอบประมาณ 1,300 รอบต่อนาที เป่าลมเย็นเข้าเตาผึ่งใบชา โครงสร้างทำจากเหล็กภายในมีตะแกรงเป็นชั้นสำหรับวางยอดใบชาสดใช้ชาพันธุ์อัสสัมผลิตเป็นชาฝรั่งชนิดเส้น ผลจากการใช้เตาผึ่งใบชาโดยใช้พลังงานน้ำขับเคลื่อนใช้เวลาในการผึ่งประมาณ 8 ชั่วโมง ค่าความชื้นที่ระดับ 70 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการนวดชาและอบแห้ง ทำให้ได้คุณภาพของชาที่ดีกว่าวิธีการผึ่งแบบเดิมซึ่งเป็นการผึ่งตามธรรมชาติใช้เวลาถึง 18 ชั่วโมง จึงจะนำชาที่ได้ไปคั่วชานวดชาและผึ่งแดดตามลำดับ


จากผลการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ พบว่าคุณภาพของใบชาแห้งดียิ่งขึ้น เมื่อนำไปชงและทดสอบด้วยการชิมน้ำชา ลักษณะของน้ำชามีสี กลิ่น รสชาติที่ดีขึ้นเป็นที่  น่าพอใจ รวมถึงขั้นตอนการผึ่งมีความสะอาดถูกต้องตามหลักสุขลักษณะอนามัย ยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชาไร่ชาดอยปู่หมื่นให้เป็นที่ต้องการของตลาด ได้ราคาสูงขึ้นจากราคาปกติ 50 - 70 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 70 - 120 บาทต่อกิโลกรัม ชาแห้ง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอัตราการผลิตในแต่ละรอบการผลิตได้

Article Details

How to Cite
[1]
สารมาท ส. และ ทานิล พ. 2018. การออกแบบและสร้างเตาผึ่งใบชาแบบเป่าลมเย็นโดยใช้พลังงานน้ำ สำหรับชุมชนหมู่บ้านดอยปู่หมื่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 3, 1 (ก.ค. 2018), 105–114.
บท
บทความวิจัย

References

กิตติกร สาสุจิตต์ นิกราน หอมดวง และณัฐวุฒิ ดุษฎี. 2557. การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนของศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง บ้านหนองไซตำบลป่าสักจังหวัดลำพูน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 125-132.

บรรเลง ศรนิล และสมนึก วัฒนศรียกุล. 2552. ตารางคู่มืองานโลหะ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ. 392 หน้า.

สัณห์ ละอองศรี. 2535. ชา. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ. 166 หน้า.

สมพล นิลเวศน์ อุทัย นพคุณวงศ์ ธิติ หาญเจริญกิจ และพยุงศักดิ์ ไชยกอ . 2554. โครงการวิจัยและพัฒนาการผลิตชาฝรั่งสำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการแปรรูปชารายย่อยในเชิงการค้า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ. 88 หน้า.

Harvey, A. 1993. Micro-Hydro Design Manual. Intermediate Technology Publications, London. 374 p.

Werkhoven, J. 1974. Tea Processing. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Rome. 196 p.

Willson, K.C. and M.N. Clifford. 1992. Tea: Cultivation to Consumption. 1st ed. Chapman and Hall, London. 769 p.