การผลิตปุ๋ยหมักร่วมจากกากตะกอนน้ำทิ้ง เศษผัก และกากไขมัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและเคมีของปุ๋ยหมักร่วม และคุณภาพของปุ๋ยหมักที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้ง ประเภทกากตะกอนน้ำทิ้งจากโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนหมักร่วมกับเศษผักและกากไขมัน สำหรับเป็นทางเลือกในการนำกลับมาใช้ประโยชน์และลดปริมาณมูลฝอย โดยมีรูปแบบการทดลองดังนี้ ชุดการทดลองที่ 1 ใช้กากตะกอนน้ำทิ้ง : เศษผัก ชุดการทดลองที่ 2 ใช้กากตะกอนน้ำทิ้ง : กากไขมัน และชุดทดลองที่ 3 ใช้กากตะกอนน้ำทิ้ง : เศษผัก : กากไขมัน โดยมีน้ำหนักรวมเริ่มต้นที่ 14 กิโลกรัม ผลการวิจัยพบว่า ชุดการทดลองที่ 1, 2 และ 3 หลังสิ้นสุดการหมัก (ระยะเวลา 56 วัน) มวลลดลงเหลือ 2.47, 11.09 และ 3.07 กิโลกรัม ค่าพีเอช เท่ากับ 8.71, 5.44 และ 6.91 ค่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนร้อยละ 26.16, 49.40 และ 31.84 อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับ 16.56:1, 88.22:1 และ 20.91:1 ตามลำดับ และพบว่าประสิทธิภาพการย่อยสลายของชุดการทดลองที่ 1 ให้ผลดีที่สุด รองลงมา คือ ชุดการทดลองที่ 3 และ 2 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาคุณภาพปุ๋ยหมักจากธาตุอาหารหลักและโลหะหนัก (ทองแดง แคดเมียม และตะกั่ว) ของทั้งสามชุดการทดลองตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่าร้อยละของปริมาณไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม เท่ากับ 1.58 - 2.32 - 2.19, 0.56 - 0.98 - 0.50 และ 1.52 - 1.96 - 2.00 ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปุ๋ยหมักจากชุดการทดลองที่ 1 และ 3 อาจมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นสารปรับปรุงคุณภาพของดินได้
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
กรมควบคุมมลพิษ. 2551ข. คู่มือแนวทางการจัดการน้ำมันและไขมันจากบ่อดักไขมัน และการนำไปใช้ประโยชน์สำหรับร้านอาหาร. พิมพ์ครั้งที่1. บริษัท ทีคิวพี จำกัด, กรุงเทพฯ.
กรมควบคุมมลพิษ. 2552. ขยะมูลฝอย. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
เกศรัชฎา กลั่นกรอง และนิสิตา คงไพฑูรย์. 2550. คุยเฟื่องเรื่องกากตะกอน. วารสารสำนักการระบายน้ำ 4: 12-13.
ประชุม คำพุฒ และกิตติพงษ์ สุวีโร. 2556. การป้องกันสารพิษจากบ่อฝังกลบขยะซึมลงน้ำใต้ดินโดยใช้น้ำยางธรรมชาติ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 101-109.
Aiemsumaang, O. 1999. Application of aeration static pile system to co-compost of garbage and sewage sludge. Kasetsart University, Bangkok.
Jaipetch, S. 2000. Degradation of fats, oils and greases by in-vessel composting. King Mongkut's University of Technology Thonburi, Bangkok.
Kongrod K. 2003. Optimal conditions for composting process of sewage sludge and bagasse. Mahidol University, Nakhon Pathom.
Land Development Department. 2005. Compost : THAI AGRICULTURAL STANDARD TAS 9503 – 2005. National Bureau of Agricultural Commodity and Food Standards, Ministry of Agriculture and Cooperatives, Bangkok.
Vajarapana C. 2003. Influence of aeration rate sewage sludge on composting of municipal and market wastes. Kasetsart University, Bangkok.