การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในกิจกรรมเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์: ต้นแบบเฝ้าระวัง เชิงรุกในการป้องกันโรคไข้เลือดออกของพื้นที่สถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกของพื้นที่ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เตรียมความพร้อม ระยะที่ 2 ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ คือ 1) การสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยนักศึกษาพยาบาล 15 คน 2) กิจกรรมเดินรณรงค์สร้างตระหนักทั่วพื้นที่มหาวิทยาลัยโดยนักศึกษาพยาบาล 187 คน และ 3) กิจกรรมการประชุมเชิงปฏิบัติการในการคืนข้อมูลและให้ความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่นักศึกษา 828 คน และระยะที่ 3 ประเมินผล เครื่องมือในการประเมินได้แก่ 1) แบบการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย 2) แบบประเมินความคิดเห็น 3) คำถามเพื่อสัมภาษณ์ และ 4) แผ่นสะท้อนคิดรูปหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ประเด็นจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการดำเนินการ พบว่า 1) ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลง จากการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลาย 128 อาคาร ผลสำรวจก่อนและหลังการดำเนินการพบร้อยละของค่าดัชนีซีไอ (CI= 27.05, 9.03) เอชไอ (HI= 40.63, 24.22) และบีไอ (BI= 198.44, 77.34) ตามลำดับ โดยภาชนะพบลูกน้ำยุงลายมากที่สุดในอาคารทั้งก่อนและหลังดำเนินการ คือ อ่างบัว (ร้อยละ 61.5 และ 66.7) ส่วนนอกอาคาร คือ ยางรถยนต์และขยะรอบอาคาร ( ร้อยละ 66.7 และ 64.1 ตามลำดับ) หลังดำเนินการพบในภาชนะเก็บน้ำใช้นอกอาคาร (ร้อยละ 27.8) 2) ความคิดเห็นต่อการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และความคิดเห็นต่อการรณรงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (, SD = 4.59, 0.33 และ 4.40, 0.52 ตามลำดับ) และ 3) ผลการสะท้อนคิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอให้ดำเนินการต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพราะสามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน สรุปกิจกรรมการเฝ้าระวังเชิงรุกครั้งนี้สามารถลคความเสี่ยงของดัชนีลูกน้ำยุงลายที่เป็นสาเหตุหลักของการระบาดของโรคไข้เลือดออก และต้นแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
จรวย สุวรรณบำรุง ชัยรัตน์ พรหมสุวรรณ สมจิตร พรหมสุภา วิชัย บุญมาก มัดดารี รับไซ จิตร ยอดมณีอรุณ ดาราไก ประสิทธิ์ ศิริพรหม ยุทธพงศ์ หมื่นราษฏร์ และอนันต์ ดำแป้น. 2554. การสร้างความสามารถของอาสาสมัครป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประทีปศาสน์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเพื่อการวิจัยเชิงพื้นที่ 3(5): 30-55.
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. 2550. หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับทางการพยาบาลและสุขภาพ. ชานเมืองการพิมพ์, สงขลา.
ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. 2553. ระบาดวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุพิมล ขอผล จินตวีร์พร แป้นแก้ว ธณัชช์นรี สโรบล สมพร สิทธิสงคราม สายัณห์ ชัยศรีสวัสดิ์ สุมาลี ชัยศรีสวัสดิ์ และประจวบ หน่อศักดิ์. 2557. การใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการดื่มสุราในชุมชนหมู่บ้านหนองเต่าคำใหม่ ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 313-324.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. 2553. การวิจัยเชิงคุณภาพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ Qualitative Research in Health Science. บริษัออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ.
ศุขธิดา อุบล และจันทพงษ์ วสี. 2549. ไข้เลือดออกเด็งกี่ ไวรัสวิทยา พยาธิกำเนิดจากกลไกภูมิคุ้มกัน การวินิจฉัย การดูแลรักษา การป้องกันและควบคุม. สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, กรุงเทพฯ.
ส่วนกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2557. ข้อมูลนักศึกษาประจำปีการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.
สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. 2545. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
Chakravarti, A., and R. Kumari. 2005. Eco-epidemiological analysis or dengue infection during an outbreak of dengue fever, India. Virology Journal 2(32).
Chua, K. B., I. L. Chua, I.E. Chue, and K.H. Chue. 2005. Effect of chemical fogging on immature Aedes mosquitoes in natural field conditions. Singapore Medical Journal 46(11): 639-644.
Deen, J. L. 2004. The challenge of dengue vaccine development and introduction. Tropical Medicine and International Health 9(1): 1-3.
DeRock, D., J .Deen, and J.D. Clemens. 2003. Policymakers' views on dengue fever/dengue hemorrhagic fever and the need for dengue vaccines on four Southeast Asia countries. Vaccine 22: 121-129.
Erlanger, T. E., J. Keiser, and J. Utzinger. 2008. Effect of dengue vector control interventions on entomological parameters in developing countries: a systematic review and meta - analysis. Medical and Veterinary Entomology 22: 203-221.
Espinoza-Gomez, F., C.M. Hernandez-Suarez, and R. Coll-Cardenas. 2002. Educational campaign versus malathion spraying for the control of Aedes aegypti in Colima, Mexico. Journal Epidemiol Community Health 56(2):148-152.
Gubler, D. J. 2011. Prevention and control of Aedes aegypti-borne disease: lesson learned from past successes and failure. Asia-Pacific Journal of Molecular Biology and Biotechnology 19(3): 111-114.
Gubler, D. J., P. Reiter, K.L. Ebi, W. Yap, R. Nasci, and J. Patz. 2001. Climate variability and change in the United States: potential impacts on vector-and rodent-borne diseases. Environ Health Prospect, 109 (Suppl 2): 223-233.
Guha-Sapir, D., and B. Schimmer. 2005. Dengue fever: new paradigms for a changing epidemiology. Emerging Themes in Epidemiology 2(1): 1.
Guzman, M., G. Kiuri', M., Diaz, A., Llop, S. Vazquez, D. Gonzalez, O. Castro, A. Alvarez, O. Fuentes, D. Montada, H. Padmanabha, B. Sierra, A. Pérez, D. Rosario, M. Pupo, C. Díaz, L. Sanchez. 2004. Dengue, one of the great emerging health challenges of the 21st Century. Expert Review. Vaccinnes 3(5): 511-520.
Malavige, G. N., S. Fernando, D.J. Fernando, and S.L. Seneviratne. 2004. Dengue viral infections. Postgrad. Medical Journal 80: 588-601.
Ponlawat, A., J.G. Scott and L.C. Harrington. 2005. Insecticide susceptibility of Aedes aegypti and Aedes albopictus across Thailand. Journal of Medical Entomology 42(5): 821-825.
Spiegel, J., S. Bennett, L. Hattersley, M. H. Hayden, P. Kittayapong, S. Nalim, D. N. C. Wang, E. Zielinski-Gutierrez, and D. Gubler. 2005. Barriers and bridges to prevention and control of dengue: the need for a social for a social-ecological approach. EcoHealth 2: 273-290.
Suwanbamrung, C. 2012. Children’s basic knowledge and activities for Dengue problem solution: an Islamic Religious School, Southern Thailand. Asia Pacific Journal of Tropical Disease 2(6): 456-464.
Suwanbamrung, C., N. Nukan, S. Sripon, R. Somrongthong and P. Singchagchai. 2010. Community capacity for sustainable community-based dengue prevention and control: Study of a Sub-district in Southern Thailand. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine 3(4): 1-5.
Vanlerberghe, V., M.E. Toledo, M. Rodrguez, D. Gomez, A. Baly, R. Benitez, and P.Van der Stuyft. 2009. Community involvement in dengue vector control: cluster randomised trial. MEDICC Review 12(1): 41-47.
WHO. 1993. Monograph on Dengue/ Dengue Haemorrhagic Fever. Regional Office for South-East Asia, New Delhi.
WHO. 1999. Prevention and Control of Dengue and Dengue Hemorrhagic Fever: Comprehensive Guidelines. WHO Regional Publication, SEARO No. 29. New Delhi.
WHO. 2002. Dengue and Dengue Heamorrhagic Fever. Fact Sheet. WHO Regional Publication No. 117. Geneva.
WHO. 2006. Strategic Framework for Dengue Prevention and Control in Asia-Pacific (2006-2010). Paper presented at the Meeting of Partner on Dengue Prevention and Control in Asia-Pacific, Chiang Mai, Thailand.
WHO. 2009. Dengue: Guidelines for Diagnosis,Treatment, Prevention and Control. WHO, Geneva.
WHO. 2012. Global Strategy for Dengue Prevention and Control 2012-2020. WHO, Geneva.